Page 18 - ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand Rice Maize Sugarcane Cassava Pineapple
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






               ➢  การทดสอบความแม่นยำของโปรแกรม DSSAT ในการประเมินผลผลิตอ้อย


                        Preecha et al. (2016)  ทำการทดสอบแบบจำลองการเจริญเติบโตของพืชโดยใช้โปรแกรม
               DSSAT-CANEGRO และ DNDC95 เพื่อประเมินผลผลิตอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

               โดยทำการศึกษาอ้อย 3 พันธุ์ได้แก่ KK3, LK92-11 และ 02-2-058 ที่ปลูกในภาวะอาศัยน้ำฝน (A) ซึ่งเก็บ

               รวบรวมข้อมูลในปี 2553-2554 และทำแปลงทดสอบแบบมีการให้น้ำ (B1) และแปลงที่ปลูกโดยใช้น้ำฝน (B2)
               เก็บข้อมูลในปี 2554-2555 นำข้อมูลมาทำการปรับพารามิเตอร์ในโปรแกรม DSSAT และ DNDC95  ซึ่ง

               แบบจำลองให้ผลการประเมินที่ใกล้เคียงกับผลผลิตของแปลงทดสอบทั้ง 3 แบบ  โดยมีค่า Agreement
                             2
               index (D) ค่า R  มากกว่า 0.9 และมีค่า RMSE ต่ำอยู่ระหว่าง 2.8-8 ตันต่อเฮกตาร์ แสดงว่าแบบจำลอง
               โปรแกรม DSSAT-CANEGRO สามารถประเมินผลผลิตที่มีค่าความเชื่อมั่นสูง ดังภาพที่ 9 ก และ ข































                                    ก                                                    ข


               ภาพที่ 9  ก. การเปรียบเทียบระหว่างค่าประเมินผลผลิตอ้อยด้วยแบบจำลอง DSSAT-CANEGRO กับแปลง

                          ทดสอบ B1
                        ข. การเปรียบเทียบระหว่างค่าประเมินผลผลิตอ้อยด้วยแบบจำลอง DSSAT-CANEGRO กับแปลง

                          ทดสอบ B2




                                                            ศักยภาพการให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจของชุดดินในประเทศไทย
                                                  Productivity of Soil Series for Economic Crops in Thailand | 14
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23