Page 22 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดภูเก็ต
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               15







                                 พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกข้าวในที่ดินที่ไม่มี
                       ข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกข้าว ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของจังหวัด โดย
                       กระจายอยู่ในอำเภออำเภอถลาง อำเภอกะทู้ และอำเภอเมืองภูเก็ต
                                 พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูกข้าวในที่ดินที่มี

                       ข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกข้าว เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง
                       และแหล่งน้ำ โดยกระจายอยู่ในอำเภอถลาง และอำเภอกะทู้
                                 (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุน
                       ให้เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมเช่น ทำการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูง

                       กว่า โดยพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                       3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด
                         3.1  สับปะรดภูเก็ต เปนพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต และได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็น

                       พืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (พืช GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีขอบเขตพื้นที่การผลิตตามประกาศ
                       ครอบคลุมพื้นที่อำเภอถลาง อำเภอกะทู้ และอำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต สับปะรดภูเก็ต คือ
                       สับปะรดที่อยูในกลุ่มสายพันธุควีน (Queen) มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว คือ เนื้อมีความหวานกรอบ
                       มีกลิ่นหอม กากใยนอย จึงเปนที่ตองการของผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก การปลูกสับปะรดบนเกาะภูเก็ต
                       สามารถปลูกได้ตลอดป โดยเกษตรกรนิยมปลูกแซมในสวนยางพาราตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งตนยาง

                       อายุได้ 3 ป ทำให้เกษตรกรมีรายได้ก่อนที่จะได้รับผลผลิตจากยางพารา
                              เมื่อพิจารณาจากพื้นที่ในการส่งเสริมการปลูกสับปะรดภูเก็ต ควรส่งเสริมเฉพาะในพื้นที่ความ
                       เหมาะสมสูง (S1) และพื้นที่ศักยภาพความเหมาะสมปานกลาง (S2) ซึ่งจังหวัดภูเก็ตยังมีพื้นที่ปลูก

                       สับปะรดภูเก็ตเหมาะสมสูง S1 (คงเหลือ) จำนวน 21,029 ไร่ ส่วนมากกระจายอยู่ในอำเภอถลาง
                       (19,880 ไร่) อำเภอเมืองภูเก็ต (825 ไร่) และอำเภอกะทู้ (324 ไร่) และพื้นที่ปลูกสับปะรดภูเก็ต
                       เหมาะสมปานกลาง S2 (คงเหลือ) จำนวน 61,785 ไร่ ส่วนมากกระจายอยู่ในอำเภอถลาง (49,086 ไร่)
                       อำเภอเมืองภูเก็ต (11,256 ไร่) และอำเภอกะทู้ (1,443 ไร่)

                         3.2  ผักพื้นเมือง (ผักเหมียง หรือ ใบเหลียง) เป็นผักพื้นเมืองท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ต เดิมที
                       เป็นผักป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ด้วยรสชาติที่หวาน มัน ไม่ขม และไม่มีกลิ่น ชาวบ้านจึงนำมาทาน
                       เป็นผักเคียงคู่กับขนมจีน หรือกินแกล้มแก้เผ็ดได้ดี สำหรับอาหารใต้ที่รสจัดจ้าน ต่อมามีการนำ
                       ใบเหลียงมาประกอบอาหารอื่นๆ เช่น ใบเหลียงผัดไข่ หรือต้มกะทิใบเหลียง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี

                       การนำใบเหลียงมาแปรรูปเป็นชา เพื่อเป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพอีกด้วย เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูก
                       เป็นพืชแซมในสวนยางพารา สวนผลไม้ หรือสวนปาล์ม ช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกร
                         3.3  ส้มควาย เป็นสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เป็นพืชท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ต ส้มควายเป็นพืชตระกูล
                       เดียวกับส้มแขก มีรสเปรี้ยว นิยมใช้เป็นพืชอาหาร และพืชสมุนไพร เกษตรกรนิยมปลูกส้มควายเป็น

                       ไม้ผลประจำบ้าน ต้นส้มควายภูเก็ต มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ มีผลขนาดใหญ่ และมีเนื้อมาก
                       ชาวบ้านนิยมนำส้มควายมาปรุงอาหาร เช่น แกงส้ม แกงเลียง ต้มเนื้อ ต้มปลา เป็นต้น ภูมิปัญญา
                       ชาวบ้านในสมัยโบราณ นิยมนำส้มควายมาตากแห้ง และบดเป็นผงก่อนนำมาผสมกับน้ำร้อน เพื่อแช่

                       เท้า ลดอาการปวดเมื่อย อาการเท้าบวม และช่วยระงับกลิ่นเท้าได้เป็นอย่างดี
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27