Page 19 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดภูเก็ต
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               12







                       ตารางที่ 8  พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตปาล์มน้ำมัน

                                                 มะพร้าว (ไร่)                     ยางพารา (ไร่)
                           อำเภอ
                                         S3          N          รวม         S3          N         รวม
                       กะถู้                -         59          59        274           -        274
                       ถลาง                19        247         266           -           -          -
                       เมืองภูเก็ต         19         10          29          1           -          1
                            รวม            38        316         354        275            -       275

                             4) แนวทางการจัดการ
                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้

                       เกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมันต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและ
                       ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอด
                       โครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูก

                       ปาล์มน้ำมันในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูก
                       ปาล์มน้ำมันที่สำคัญของจังหวัด โดยกระจายอยู่ในอำเภอถลาง อำเภอเมืองภูเก็ต และอำเภอกะทู้
                                 พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูก

                       ปาล์มน้ำมันในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกปาล์มน้ำมัน เช่น ความอุดม
                       สมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง และแหล่งน้ำ โดยกระจายอยู่ในอำเภอถลาง อำเภอเมืองภูเก็ต
                       และอำเภอกะทู้
                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้เข้า
                       โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมเช่น ทำการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า

                       โดยพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
                         2.4  ข้าว
                             ข้าวพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดภูเก็ตในลำดับที่ 4 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก

                       หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 9 และภาพที่ 12 – 13 )
                               1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกข้าว
                                   ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 4,625 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.84 ของ
                       พื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภอถลาง 3,890 ไร่ อำเภอกะทู้ 429 ไร่ และ

                       อำเภอเมืองภูเก็ต 306 ไร่
                                   ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 4,331 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       1.72 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภอถลาง 4,222 ไร่ และอำเภอกะทู้ 109 ไร่
                                   ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 1,043 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.41

                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน อยู่ในอำเภอถลาง 1,043 ไร่
                                   ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 241,649 ไร่
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24