Page 25 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดภูเก็ต
P. 25
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
18
ประสิทธิภาพการผลิต ในรูปแบบแปลงใหญ่ สนับสนุนการปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อพัฒนาศักยภาพของ
ที่ดินให้มีความเหมาะสมต่อการปลูกมะพร้าวมากยิ่งขึ้น สนับสนุนมะพร้าวพันธุ์ดีที่ทนต่อโรคแมลง
ให้ความรู้ในการกำจัดโรคแมลงศัตรูมะพร้าวที่เหมาะสม สนับสนุนการจัดตั้งแหล่งรับซื้อผลผลิต
มะพร้าวในพื้นที่ และเชื่อมโยงการตลาด โดยมีตลาดรับซื้อผลผลิตมะพร้าวสำรอง ที่สามารถรองรับ
ผลผลิตทางการเกษตรในช่วงที่ผลผลิตล้นตลาด หรือเกินกำลังผลิตของโรงงานแปรรูปในพื้นที่ใกล้เคียง
พัฒนาสถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็ง และเป็น Smart Farmer โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมา
ประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเป็นฟาร์มหรือแปลงเกษตรอัจฉริยะ
2) พื้นที่ปลูกมะพร้าวในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร
ยังคงใช้ที่ดินปลูกมะพร้าวอยู่ มีเนื้อที่ 1,674 ไร่ ควรมีการให้ความรู้เกษตรกรในการปรับเปลี่ยน
ชนิดพืชให้เหมาะสมตรงตามศักยภาพของพื้นที่ โดยสนับสนุนให้เข้าร่วมโครงการ ต่างๆ เช่น Zoning
by Agri-Map เป็นต้น พร้อมทั้งจัดระบบการผลิตและการบริหารจัดการดิน น้ำ ปุ๋ย ที่เหมาะสม
สำหรับมะพร้าว การสนับสนุนแหล่งน้ำ และการส่งเสริมให้ความรู้ในการปรับปรุงบำรุงดิน และการทำ
เกษตรผสมผสาน
3) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกมะพร้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกร
ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกมะพร้าว พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีการปลูกพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน
เงาะ และอ้อยโรงงาน เป็นต้น ในกรณีที่ปลูกไม้ยืนต้นชนิดอื่น หรือมีการปลูกไม้ผลชนิดอื่น
การปรับเปลี่ยนพื้นที่ดังกล่าวมาปลูกมะพร้าวเป็นเรื่องยาก เนื่องจากมะพร้าวเป็นพืชที่ใช้เวลานานกว่า
จะให้ผลผลิตที่คุ้มทุน แต่หากพื้นที่ดังกล่าวมีการปลูกพืชไร่ เช่น อ้อยโรงงาน เป็นต้น สามารถปลูก
มะพร้าวในลักษณะระบบปลูกพืชผสมกับพืชไร่ชนิดดังกล่าว หรือปลูกในลักษณะเกษตรผสมผสานได้
4.3 ปาล์มน้ำมัน
1) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกปาล์มน้ำมันอยู่
มีเนื้อที่ 1,440 ไร่ อยู่ในเขตอำเภอถลาง และอำเภอเมืองภูเก็ต ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดิน
จังหวัดเห็นควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่สำคัญของจังหวัด
และมีการบริหารจัดการน้ำอย่างดี รวมทั้งการจัดการดินและปุ๋ยตามมาตรฐาน ส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ย
ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ใช้พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ได้รับการรับรอง สนับสนุนการรวมกลุ่มเป็นเกษตร
แปลงใหญ่ สร้างเครือข่ายในรูปแบบของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ลานเท กับโรงงานสกัด
น้ำมัน ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องการตัดปาล์มน้ำมันที่ได้คุณภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนา
ให้เกษตรกรเพาะปลูกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP)
2) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูก
ปาล์มน้ำมันอยู่ มีเนื้อที่ 381 ไร่ อยู่ในเขตอำเภอถลาง และอำเภอเมืองภูเก็ต ควรสนับสนุนด้านการ
บริหารจัดการน้ำ เช่น ชลประทาน แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ใช้ปัจจัยการผลิตในอัตราและ
ช่วงเวลาที่เหมาะสม สนับสนุนพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ได้รับการรับรอง จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกร
ผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน พื้นที่ในเขตนี้มีความเหมาะสมสำหรับการเกษตรแบบผสมผสานโดยเฉพาะในช่วงที่
ปาล์มน้ำมันอายุน้อยยังไม่ให้ผลผลิต หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น และภาครัฐควรให้ความรู้ความ
เข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หรือถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดพืช
ควรเป็นพืชที่มีผลตอบแทนดีกว่า