Page 26 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดภูเก็ต
P. 26
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
19
3) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคง
ใช้ที่ดินปลูกปาล์มน้ำมันอยู่ มีเนื้อที่ 332 ไร่ การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุน
การปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดินสนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มี
ความเหมาะสม และปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นอายุประมาณ 20-25 ปี การปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิด
อื่นจึงเป็นเรื่องยากในกรณีที่ปาล์มน้ำมันหมดอายุ ลงทุนน้อยกว่าและให้ผลตอบแทนที่ดี ส่งเสริม
สินค้าเกษตรชนิดอื่น ๆ ที่สามารถปลูก เลี้ยง หรืออยู่ร่วมกันได้ในสวนปาล์มน้ำมัน ตามความเหมาะสม
ในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้เกษตรกรสามารถเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by
Agri-Map) เป็นต้น
4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน แต่ปัจจุบัน
เกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยหันมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น ยางพารา มะพร้าว
ข้าว เงาะ และอ้อยโรงงาน ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเป็นพืชไร่หรือนาข้าว ในอนาคตสามารถกลับมาปลูก
ปาล์มน้ำมันได้อีก แต่หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น การกลับมาปลูกปาล์มน้ำมันอาจเป็นเรื่องยาก
โดยเฉพาะการปลูกไม้ผล เช่น ทุเรียน ที่ปัจจุบันราคาดี แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาต้นทุนการผลิตและราคา
ผลผลิตร่วมด้วย
4.4 ข้าว
1) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่ 90 ไร่
ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอถลาง ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดเห็นควรให้มีการเสนอ
แผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำ
ชลประทาน การจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์ข้าว มีการรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจร
ด้านการตลาดในและต่างประเทศ การแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการทำมาตรฐานสินค้า
เกษตรอินทรีย์ และเพาะปลูกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices :
GAP) และเนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง การปลูกพืชหลังนาจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และ
เป็นการปรับปรุงบำรุงดิน ทั้งนี้ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าพื้นที่นี้เป็น
พื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวจึงไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าวราคาไม่ดีถ้า
ต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชไร่ เพื่อที่ในอนาคตจะกลับมาทำนาได้อีก
2) พื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้ที่ดิน
ปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่ 48 ไร่ ควรให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ไม่
เหมาะสม โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกร
เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อ
บริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น
3) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้
ใช้พื้นที่ปลูกข้าว โดยมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น ยางพารา มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน
และเงาะ ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเป็นพืชไร่ หากในอนาคตข้าวราคาดี เกษตรกรอาจกลับมาปลูกข้าวได้
เหมือนเดิม แต่หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น การกลับมาปลูกข้าวอาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้นอาจส่งเสริม
ในเรื่องของการทำเกษตรรูปแบบอื่น เช่น ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ทดแทน