Page 23 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดภูเก็ต
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               16







                         3.4  ทุเรียน จัดเปนพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งพันธุ์ทุเรียนที่มีชื่อเสียงของจังหวัด
                       ภูเก็ต คือ ทุเรียนกมลา ที่มีมานานกว่า 100 ปี เดิมทีเป็นทุเรียนที่ขึ้นอยู่ตามป่า ชาวบ้านตำบลกมลา
                       เข้าไปเก็บทุเรียนในป่า จากนั้นก็แจกจ่ายเมล็ดไปปลูกต่อ ๆ กัน จนเป็นที่แพร่หลายในตำบลกมลา จน
                       ทำให้ทุเรียนป่ากลายพันธุ์เป็นทุเรียนบ้านที่มีรสชาติอร่อย และเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน ทุเรียน

                       กมลาจะออกผลเพียงปีละ 1 ครั้ง มีเอกลักษณ์ คือ ต้องรอให้ผลตกจากต้น โดยไม่ตัดมาบ่มให้สุก
                       เนื่องจากจะทำให้รสชาติเปลี่ยน เนื้อทุเรียนมีความนิ่ม เมล็ดเล็ก และมีกลิ่นแรง
                             เมื่อพิจารณาจากพื้นที่ในการส่งเสริมการปลูกทุเรียน ควรส่งเสริมเฉพาะในพื้นที่ความ
                       เหมาะสมสูง (S1) และพื้นที่ศักยภาพความเหมาะสมปานกลาง (S2) ซึ่งจังหวัดภูเก็ตยังมีพื้นที่ปลูก

                       ทุเรียนเหมาะสมสูง S1 (คงเหลือ) จำนวน  67,824 ไร่ ส่วนมากกระจายอยู่ในอำเภอถลาง (57,981 ไร่)
                       อำเภอเมืองภูเก็ต (8,374 ไร่) และอำเภอกะทู้ (1,469 ไร่) และพื้นที่ปลูกทุเรียนเหมาะสม
                       ปานกลาง S2 (คงเหลือ) จำนวน 22,170 ไร่ ส่วนมากกระจายอยู่ในอำเภอถลาง (14,351 ไร่) อำเภอ
                       เมืองภูเก็ต (6,645 ไร่) และอำเภอกะทู้ (1,174 ไร่)

                         3.5  พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green
                       Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่งที่
                       ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสารสำคัญที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์

                       ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือกในปี 2564 โดย
                       ดำเนินการภายใต้ตลาดนำการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจะช่วยให้
                       เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการดำรงชีพ จากฐานข้อมูล Agri-Map
                       Online จังหวัดภูเก็ตมีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกพืชสมุนไพรได้หลายชนิด เช่น ขมิ้นชัน
                       กระชายดำ ไพล และบัวบก เป็นต้น

                             ขมิ้นชัน เป็นพืชปลูกง่าย ชอบแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบาย
                       น้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง เกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันแซมในสวน เป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ และมี
                       รายได้ระหว่างรอการเติบโตของไม้ผล ไม้ยืนต้น โดยพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูก

                       ขมิ้นชันที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 26,705 ไร่
                             กระชายดำ เป็นพืชที่ชอบที่ร่ม ดินร่วนซุยหรือเป็นดินปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี ชอบ
                       อากาศหนาวเย็น และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแบ่งเหง้า สามารถขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี แต่ถ้าต้องการ
                       ให้หัวหรือเหง้ามีคุณภาพต้องปลูกและเก็บเกี่ยวตามฤดูกาล คือปลูกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือน

                       พฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม โดยพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีพื้นที่ศักยภาพ
                       ในการปลูกกระชายดำที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 26,705 ไร่
                             ไพล เจริญได้ดีในดินร่วนซุย ปลูกง่าย ดูแลง่าย สามารถปลูกแซมระหว่างแปลงพืชหลักได้
                       โดยพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกไพลที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ

                       19,949 ไร่
                             บัวบก เป็นพืชเขตร้อนชื้น ชอบที่ลุ่มชื้นแฉะเล็กน้อย เช่น ตามขอบคันนา คันดินริมหนอง
                       สระ คลองน้ำ ชอบแสงรำไร สามารถปลูกแซมระหว่างแปลงพืชหลักได้ โดยพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีพื้นที่
                       ศักยภาพในการปลูกบัวบกที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 1,279 ไร่
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28