Page 17 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดภูเก็ต
P. 17
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
10
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมเช่น ทำการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูง
กว่า โดยพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
2.3 ปาล์มน้ำมัน
ปาล์มน้ำมันพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดภูเก็ตในลำดับที่ 3 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตร
เชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 7 และภาพที่ 10 – 11 )
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน
ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 60,473 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 23.38
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภอถลาง 54,415 ไร่ อำเภอเมืองภูเก็ต 4,899 ไร่
และอำเภอกะทู้ 1,159 ไร่
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 24,627 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
9.52 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภอถลาง 17,423 ไร่ อำเภอเมืองภูเก็ต 6,120
ไร่ และอำเภอกะทู้ 1,084 ไร่
ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 14,896 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
5.75 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภอถลาง 9,650 ไร่ อำเภอเมืองภูเก็ต 4,307 ไร่
และอำเภอกะทู้ 939 ไร่
ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 158,623 ไร่
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของ
ที่ดิน ได้ดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 1,440 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.38 ของพื้นที่ศักยภาพสูง
กระจายตัวอยู่ในอำเภอถลาง 1,423 ไร่ และอำเภอเมืองภูเก็ต 17 ไร่
(2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 381 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.55 ของพื้นที่
ศักยภาพปานกลาง กระจายตัวอยู่ในอำเภอถลาง 299 ไร่ และอำเภอเมืองภูเก็ต 82 ไร่
(3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 102 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.68 ของพื้นที่ศักยภาพ
เล็กน้อย กระจายตัวอยู่ในอำเภอกะทู้ 39 ไร่ อำเภอถลาง 36 ไร่ และอำเภอเมืองภูเก็ต 27 ไร่
(4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 230 ไร่
3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกปาล์มน้ำมันแต่ไม่มีการปลูก
พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน และพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันใน
ชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดภูเก็ตมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับความ
เหมาะสมสูง (S1) และความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 83,279 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกอำเภอ
โดยอำเภอที่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่ อำเภอถลาง 70,116 ไร่ รองลงมา ได้แก่
อำเภอเมืองภูเก็ต 10,920 ไร่ และอำเภอกะทู้ 2,242 ไร่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูงคงเหลือ (S1) มีเนื้อที่ 59,033 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 97.62 ของพื้นที่
เหมาะสมสูง พบมากในอำเภอถลาง 52,992 ไร่ อำเภอเมืองภูเก็ต 4,882 ไร่ และอำเภอกะทู้ 1,159 ไร่