Page 14 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดภูเก็ต
P. 14
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
7
ทั้งนี้ ในการส่งเสริมการปลูกพืชจะพิจารณาเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพคงเหลือในระดับ
ความเหมาะสมสูง (S1) และระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) เท่านั้น เนื่องจากสภาพพื้นที่
ปลูกพืชตรงตามศักยภาพของดิน การลงทุนต่ำก็สามารถเพิ่มผลผลิตได้ จึงควรส่งเสริมในพื้นที่ดังกล่าว
เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพพื้นที่ร่วมกับพื้นที่ปลูกพืชในปัจจุบัน พบว่า พื้นที่ที่ควร
พิจารณาให้มีการปรับเปลี่ยนไปปลูกยางพารา คือ บริเวณที่เป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน (S3) 80 ไร่ และ
พื้นที่ปลูกมะพร้าว (S3+N) 71 ไร่ (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4 พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตยางพารา
ปาล์มน้ำมัน (ไร่) มะพร้าว (ไร่)
อำเภอ
S3 N รวม S3 N รวม
กะทู้ 39 - 39 - - -
ถลาง 20 - 20 27 1 28
เมืองภูเก็ต 21 - 21 43 - 43
รวม 80 - 80 70 1 71
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
เกษตรกรปลูกยางพาราต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผล
ผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่
สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกยางพาราใน
ที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกยางพารา ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกยางพาราที่สำคัญ
ของจังหวัด โดยกระจายอยู่ในอำเภอถลาง อำเภอเมืองภูเก็ต และอำเภอกะทู้
พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูก
ยางพาราในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกยางพารา เช่น ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง และแหล่งน้ำ โดยกระจายอยู่ในอำเภอถลาง อำเภอเมืองภูเก็ต และ
อำเภอกะทู้
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น ทำการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูง
กว่า โดยพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
2.2 มะพร้าว
มะพร้าวพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดภูเก็ตในลำดับที่ 2 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิง
รุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 8 – 9 )
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกมะพร้าว
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 77,509 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 29.97
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภอถลาง 66,117 ไร่ อำเภอเมืองภูเก็ต 9,626 ไร่
และอำเภอกะทู้ 1,766 ไร่