Page 12 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดภูเก็ต
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                5







                       ตารางที่ 2  พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีพื้นที่ปลูกมาก 4 ลำดับแรกของจังหวัดภูเก็ต

                                พืชเศรษฐกิจ                  เนื้อที่ (ไร่)     ร้อยละของพื้นที่เกษตรกรรม
                             1. ยางพารา                        57,062                     57.51
                             2. มะพร้าว                         5,677                      5.72

                             3. ปาล์มน้ำมัน                     2,153                      2.17
                             4. ข้าว                              138                      0.14

                       ที่มา: https://agri-map-online.moac.go.th, 2564

                         2.1  ยางพารา
                                ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งยางพาราเป็นพืชที่มีการปลูก
                       มากที่สุดในจังหวัด จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์

                       ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 3 และภาพที่ 6 - 7 )
                               1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกยางพารา
                                   ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 43,654 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 16.88

                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภอถลาง 34,568 ไร่ อำเภอเมืองภูเก็ต 8,143 ไร่
                       และอำเภอกะทู้ 943 ไร่
                                   ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 43,623 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       16.87 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภอถลาง 36,821 ไร่ อำเภอเมืองภูเก็ต 5,102

                       ไร่ และอำเภอกะทู้ 1,700 ไร่
                                   ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 3,407 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.31
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภอเมืองภูเก็ต 1,798 ไร่ และอำเภอถลาง 1,609 ไร่
                                   ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 167,926 ไร่

                               2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกยางพาราในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
                       ได้ดังนี้
                                   (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 19,271 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 44.14 ของพื้นที่ศักยภาพ
                       สูง กระจายตัวอยู่ในอำเภอถลาง 17,446 ไร่ อำเภอเมืองภูเก็ต 1,727 ไร่ และอำเภอกะทู้ 98 ไร่

                                   (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 17,940 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 41.13 ของพื้นที่
                       ศักยภาพปานกลาง กระจายตัวอยู่ในอำเภอถลาง 16,854 ไร่ อำเภอเมืองภูเก็ต 908 ไร่ และอำเภอกะทู้
                       178 ไร่

                                   (3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 1,547 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 45.41 ของพื้นที่
                       ศักยภาพเล็กน้อย กระจายตัวอยู่ในอำเภอถลาง 995 ไร่ และอำเภอเมืองภูเก็ต 552 ไร่
                                   (4)  พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 18,303 ไร่
                               3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกยางพาราแต่ยังไม่มีการปลูก
                       พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกยางพารา และพื้นที่ปลูกยางพาราในชั้นความ

                       เหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดภูเก็ตมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับความเหมาะสมสูง (S1)
                       และระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 50,066 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกอำเภอ โดยอำเภอที่
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17