Page 28 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพัทลุง
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                              23






                           4) แนวทางการจัดการ

                             (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
                     ปลูกปาล์มน้ำมันต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มี

                     คุณภาพดี ซึ่งการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญ
                     ต่าง ๆ ได้ เช่น ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
                               พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน
                     ในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกปาล์มน้ำมัน
                     ที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูงในพื้นที่อำเภอควนขนุน

                     อำเภอเมืองพัทลุง และอำเภอเขาชัยสน
                               พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน
                     ในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกปาล์มน้ำมัน เช่น ความอุดมสมบูรณ์

                     ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง ความชื้นในดิน จึงต้องมีการปรับปรุงบำรุงดินให้มีความเหมาะสม
                     ต่อการปลูกปาล์มน้ำมันมากขึ้น ได้แก่ พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่อำเภอป่าบอน อำเภอเมืองพัทลุง
                     และอำเภอปากพะยูน
                             (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้เข้าร่วม

                     โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น ปรับเปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกปาล์มน้ำมัน
                     มีต้นทุนที่ต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                     3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด

                       3.1  ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง เป็นข้าวเจ้าพันธุ์พื้นเมืองพันธุ์เบา ข้าวนาสวน ไวต่อแสง ปลูกฤดูนาปี
                     ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง เป็นของดีจากภาคใต้ มีชื่อเสียงโด่งดังไปไกลถึงต่างประเทศ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

                     มีใยอาหารสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่น ๆ มีธาตุเหล็กสูง ชาวพัทลุงเรียกว่า “ข้าวผู้ดี”  เนื่องจากเม็ดเล็ก เก็บยาก
                     ใช้แรงงานคนมากกว่าการทำข้าวชนิดอื่น เป็นข้าวที่ใช้เวลาปลูกนานถึง 4 เดือน แต่ก็คุ้มค่า เพราะเมื่อหุง
                     แล้วจะหอมนุ่ม กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศรับรองให้เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ในปี
                     พ.ศ. 2549 พื้นที่ปลูกข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ปลูกอยู่ทั่วไปของจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่ตอนต้นของทะเลสาบ

                     สงขลาในพื้นที่จังหวัดพัทลุง จนถึงทะเลสาบสงขลาทางทิศตะวันออก ผ่านระบบการจัดการคุณภาพ
                     ตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) และระบบเกษตรอินทรีย์
                     มีการซื้อขายกันในราคาไม่ต่ำกว่าตันละ 20,000 บาท ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

                       3.2  สับปะรดป่าบอน เป็นสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย ชื่อที่ผู้บริโภครู้จัก คือ “มะลิป่าบาก” จังหวัด
                     พัทลุง เอกลักษณ์ของสับปะรดป่าบอน คือ มีเนื้อเป็นแก้ว มีรสชาติหวานฉ่ำ ปัจจุบัน เป็นที่ต้องการของตลาด

                     โดยเฉพาะประเทศมาเลเซีย เกษตรกรสามารถส่งไปขายยังแหล่งต่าง ๆ ในภูมิภาคและส่งออก
                     ต่างประเทศ ปัจจุบันสับปะรดป่าบอนมีพื้นที่ปลูกค่อนข้างน้อย โดยเกษตรกรจะปลูกแซมในสวน
                     ยางพาราปลูกใหม่ แต่เมื่อต้นยางพารามีขนาดโตขึ้นจะทำให้สวนร่มครึ้มไม่สามารถปลูกสับปะรดได้ ทำให้

                     ผลผลิตมีปริมาณจำกัด สับปะรดป่าบอนมีจุดแข็งด้านราคาสับปะรด หากเปรียบเทียบกับแหล่งผลิตใหญ่
                     อย่างจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกษตรกรพัทลุงขายสับปะรดป่าบอนได้ราคาสูงกว่าประมาณ 2 - 3 เท่า
                     เนื่องจากมีการพัฒนาระบบการผลิตสับปะรดที่ดี มีคุณภาพ
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33