Page 32 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพัทลุง
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                              27






                       4.3  มังคุด

                           1) พื้นที่ปลูกมังคุดในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกมังคุดในที่ดินที่ไม่มี
                     ข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกมังคุดซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกมังคุดที่สำคัญของจังหวัด

                     คณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นพื้นที่ปลูก
                     มังคุดที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำอย่างดี รวมทั้งการจัดการดินและปุ๋ยตามมาตรฐาน
                     ส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สนับสนุนการรวมกลุ่มเป็นระบบส่งเสริมการเกษตร
                     แบบแปลงใหญ่สร้างเครือข่ายในรูปแบบของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ปรับเปลี่ยนวิถีการ
                     ผลิตสู่การผลิตผลไม้ครบวงจร เช่น บริหารจัดการผลผลิตแบบป้องกันความเสี่ยงโดยใช้การตลาดนำการ

                     ผลิตเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาให้เกษตรกรเพาะปลูกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
                     (Good Agricultural Practices : GAP) เน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพ
                     ผลไม้ให้สอดคล้องตามฤดูกาล การผลิตผลไม้คุณภาพตามแหล่งกำเนิดภูมิศาสตร์ และไม้ผล

                     อัตลักษณ์ของจังหวัด
                           2) พื้นที่ปลูกมังคุดในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูกมังคุดในที่ดิน
                     ที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกมังคุด เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรด
                     เป็นด่าง ความชื้นในดิน เนื่องจากมังคุดเป็นไม้ผลซึ่งบางช่วงมีความต้องการการใช้น้ำในปริมาณที่มาก

                     ควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ เช่น ชลประทาน แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ใช้ปัจจัย
                     การผลิตในอัตราและช่วงเวลาที่เหมาะสม จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด ภาครัฐควร
                     สร้างองค์ความรู้กับเกษตรกร เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนชนิดพืชให้เหมาะสม
                     หากต้องการปรับเปลี่ยนชนิดพืชควรปรับเปลี่ยนเป็นพืชที่มีต้นทุนต่ำและให้ผลตอบแทนสูง

                           3) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
                     ปรับเปลี่ยนการผลิต โดยเข้าร่วมโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map)
                     เพื่อปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชที่มีความเหมาะสม มีต้นทุนที่ต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการปลูกมังคุด
                     แต่ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้ด้านการปรับปรุงดิน

                     สนับสนุนแหล่งน้ำ จัดหาแหล่งเงินทุน ทั้งนี้เกษตรกรสามารถเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม
                     และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน
                           4) พื้นที่ที่มีศักยภาพ หรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกมังคุด แต่ปัจจุบันเกษตรกร
                     ไม่ได้ใช้พื้นที่เพื่อปลูกมังคุด แต่มีการใช้พื้นที่เพื่อปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน ทั้งนี้ หากเกษตรกรใช้พื้นที่

                     ดังกล่าวปลูกพืชอายุสั้น ในอนาคตสามารถกลับมาปลูกมังคุดได้อีก แต่หากเกษตรกรใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อ
                     ปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น อาจเป็นเรื่องยาก ต้องรอจนพืชเดิมครบอายุตัดโค่น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาต้นทุน
                     การผลิตร่วมด้วย ภาครัฐควรประชาสัมพันธ์และสร้างมาตรการจูงใจให้เกษตรกรกลับมาปลูกมังคุดในพื้นที่
                     นี้ หรือทำในรูปแบบสวนผสมระหว่างไม้ผลเขตร้อน เช่น เงาะ ทุเรียน ลองกอง เป็นต้น ทั้งนี้ต้องพิจารณา

                     ลักษณะทางการตลาดร่วมด้วย
                       4.4  ปาล์มน้ำมัน
                           1) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน

                     ในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกปาล์มน้ำมัน
                     ที่สำคัญของจังหวัด คณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดพัทลุง สมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดิน
                     เพื่อสงวนให้เป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำอย่างดี รวมทั้งการ
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37