Page 23 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพัทลุง
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                              18






                           4) แนวทางการจัดการ

                             (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
                     ปลูกมังคุดต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี

                     ซึ่งการปลูกมังคุดในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น
                     เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
                               พื้นที่ปลูกมังคุดในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกมังคุดในที่ดินที่ไม่มี
                     ข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกมังคุด พื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง ควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกมังคุดที่
                     สำคัญของจังหวัด ได้แก่ พื้นที่อำเภอกงหรา อำเภอศรีนครินทร์ และ อำเภอตะโหมด เป็นต้น

                               พื้นที่ปลูกมังคุดในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูกมังคุดในที่ดิน
                     ที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกมังคุด เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรด
                     เป็นด่าง ความชื้นในดิน เนื่องจากมังคุดเป็นไม้ผลซึ่งบางช่วงมีความต้องการใช้น้ำในปริมาณที่มาก ควรมี

                     การบริหารจัดการน้ำ เช่น ชลประทาน แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน เพื่อยกระดับชั้นความ
                     เหมาะสมให้สูงขึ้น พื้นที่ปลูกมังคุดที่มีความเหมาะสมปานกลางที่ควรส่งเสริมการผลิต ได้แก่ พื้นที่
                     อำเภอป่าบอน อำเภอเมืองพัทลุง และอำเภอตะโหมด
                             (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) เกษตรกรควรเข้าร่วม

                     โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม โดยปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นที่มีความเหมาะสมกว่า
                     การปลูกมังคุด ลงต้นทุนน้อยและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการปลูกมังคุด แต่ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                       2.4  ปาล์มน้ำมัน
                           ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของพัทลุงในลำดับที่ 4 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก
                     หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 9 และภาพที่ 12 - 13)

                           1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน

                             ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 658,641 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 43.92 ของ
                     พื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอำเภอควนขนุน 134,672 ไร่ อำเภอเมืองพัทลุง 121,924 ไร่ และ
                     อำเภอเขาชัยสน 88,809 ไร่ เป็นต้น
                             ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีมีเนื้อที่ 594,690 ไร่ คิดเป็นร้อยละ

                     39.63 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอำเภอป่าบอน 180,752 ไร่ อำเภอเมืองพัทลุง 73,396 ไร่
                     และอำเภอปากพะยูน 65,732 ไร่ เป็นต้น
                             ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีมีเนื้อที่ 110,594 ไร่ คิดเป็นร้อยละ

                     7.37 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอำเภอศรีบรรพต (18,341 ไร่) อำเภอเขาชัยสน 14,765 ไร่
                     และอำเภอกงหรา 14,687 ไร่ เป็นต้น
                             ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 136,331 ไร่

                           2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
                     ได้ดังนี้

                             (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) ในการปลูกปาล์มน้ำมัน มีเนื้อที่ 22,003 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 46.25
                     ของพื้นที่เพาะปลูกในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ กระจายอยู่ในอำเภอเขาชัยสน 4,677 ไร่ อำเภอควนขนุน
                     4,627 ไร่ อำเภอเมืองพัทลุง 3,901 ไร่ เป็นต้น
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28