Page 29 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพัทลุง
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                              24






                       3.3  สละ เป็นพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ภาคใต้ และมีแนวโน้มเพิ่มพื้นที่การปลูกในอนาคต

                     เนื่องจากผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องของตลาด เกษตรกรนิยมปลูกทดแทนในสวนยางพารา ได้รับ
                     คัดเลือกให้เป็นสินค้าอัตลักษณ์ของจังหวัดพัทลุง ภายใต้โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอัตลักษณ์
                     ของกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นพืชที่เหมาะสำหรับส่งเสริมเพื่อเป็นทางเลือกของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง

                     เนื่องจากตลาดมีความต้องการสูง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปี สละของจังหวัดพัทลุง ผลผลิต
                     มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีคุณภาพดี มี 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย สละพันธุ์ สุมาลี สละพันธุ์เนินวง และสละ
                     พันธุ์อินโด สามารถปลูกได้ดีเกือบทุกสภาพพื้นที่ แต่พื้นที่ที่เหมาะสมควรมีความลาดเอียงไม่ควรเกินร้อยละ 15
                     ไม่มีน้ำท่วมขัง ลักษณะดินควรเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนปนเหนียวที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง
                     การระบายน้ำดี มีชั้นดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 5.0 - 6.5 อุณหภูมิ

                     เฉลี่ยประมาณ 20 - 40 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี และการกระจายตัว
                     ของฝนดี มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง สถานการณ์การตลาดสละของจังหวัดพัทลุง ราคาสละ
                     ที่เกษตรกรขายได้ในจังหวัดพัทลุงมีแนวโน้มสูงขึ้น มูลค่ารวมของสละมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่า

                     รวมของสละจากปี 2561-2562 เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 60.65 สละจึงเป็นพืชที่มีอนาคตไกลอีกพืชหนึ่ง
                     ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี

                       3.4  พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green
                     Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่งที่
                     ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสารสำคัญที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์

                     ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือกในปี 2564 โดย
                     ดำเนินการภายใต้ตลาดนำการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจะช่วยให้
                     เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการดํารงชีพ จากฐานข้อมูล Agri-Map Online
                     จังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกพืชสมุนไพรได้หลายชนิด เช่น ขมิ้นชัน กระชายดำ

                     บัวบก
                           ขมิ้นชัน เป็นพืชปลูกง่าย ชอบแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี
                     ไม่ชอบน้ำขัง เกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันแซมในสวนเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ และมีรายได้

                     ระหว่างรอการเติบโตของไม้ผล ไม้ยืนต้น หลังราคายางพาราตกต่ำ เกษตรกรชาวพัทลุงหันมาปลูกขมิ้นพืช
                     แซมยางที่สร้างรายได้ไร่ละประมาณ 2 แสนบาท โดยปัจจุบันราคากิโลกรัมละ 40-45 บาท ซึ่งถือว่าเป็นพืช
                     แซมยางที่มีราคาสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด โดยพื้นที่จังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ศักยภาพ ในการปลูก
                     ขมิ้นชันที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 127,962 ไร่ กระจายอยู่ในอำเภอป่าพะยอม อำเภอ
                     ควนขนุน อำเภอศรีบรรพต อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอกงหรา และ อำเภอเขาชัยสน เป็นต้น

                           กระชายดำ เป็นพืชที่เจริญได้ดีในพื้นที่สูง น้ำไม่ท่วมขัง ดินร่วนซุยหรือเป็นดินปนทรายที่มี
                     การระบายน้ำได้ดี และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแบ่งเหง้า สามารถขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี แต่ถ้าต้องการ
                     ให้หัวหรือเหง้ามีคุณภาพต้องปลูกและเก็บเกี่ยวตามฤดูกาล คือปลูกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือน

                     พฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม โดยพื้นที่จังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ศักยภาพ
                     ในการปลูกกระชายดำที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 127,962 ไร่ กระจายอยู่ในอำเภอป่าพะยอม
                     อำเภอควนขนุน อำเภอศรีบรรพต อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอกงหรา และ อำเภอเขาชัยสน เป็นต้น
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34