Page 30 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพัทลุง
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                              25






                           บัวบก เจริญได้ดีในพื้นที่ลุ่มชื้นแฉะเล็กน้อย เช่น ตามขอบคันนา คันดินริมหนอง สระ คลองน้ำ

                     ชอบแสงรำไร มีเถาเลื้อยไปตามผิวดิน บางทีเรียกว่า ไหล ส่วนนี้แหละที่ใช้นำไปปักชำ ขยายพันธุ์ปลูก
                     ต่ออายุได้ไปหลายฤดู ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว เจริญเติบโตได้เร็วมากโดยพื้นที่จังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ศักยภาพ
                     ในการปลูกบัวบกที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 125,116 ไร่ อยู่ในอำเภอเมืองพัทลุง อำเภอ

                     ป่าพยอม อำเภอเขาชัยสน อำเภอป่าบอน อำเภอควนขนุน และ อำเภอบางแก้ว เป็นต้น
                     4  แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ

                       4.1  ยางพารา

                           1) พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกยางพาราในที่ดิน
                     ที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกยางพารา ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกยางพาราที่สำคัญของ
                     จังหวัด ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็น

                     แหล่งผลิตยางพาราที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำชลประทาน การจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์
                     ยางพารา โดยรวมกลุ่มเป็นระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาด

                     ในประเทศและต่างประเทศ การแปรรูป แหล่งทุน ตามมาตรการยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี ( พ.ศ. 2560-
                     2579) เน้นให้มีการเพิ่มผลผลิตยางพาราต่อไร่ต่อปี จากปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 224 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 360 กิโลกรัม

                     ต่อไร่ ภายในปี 2579 นั้น ควรมีการจัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ ประกอบด้วย การคัดเลือกพันธุ์
                     ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และต้านทานโรค การปรับปรุงบำรุงดิน การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

                     การปลูกพืชแซมและพืชคลุมดินให้เหมาะสม การบำรุงรักษา การตัดแต่งกิ่ง และเทคนิคการกรีดยาง
                     ให้มีปริมาณน้ำยางสูง มีคุณภาพและตรงตามมาตรฐาน การพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ
                     โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่มีความเข้มแข็ง

                     มีการบริหารงานแบบมืออาชีพ และสามารถถ่ายทอดกิจการให้กับคนรุ่นใหม่ได้
                           2) พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูกยางพารา

                     ในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกยางพารา เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความ
                     เป็นกรดเป็นด่างของดิน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนให้มีการเพิ่มผลผลิตยางพารา โดยเน้นการ
                     จัดการที่เหมาะสม เช่นเดียวกันกับพื้นที่เหมาะสมสูง โดย เฉพาะการปรับปรุงบำรุงดิน พัฒนาการตลาด

                     ในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลางให้มากขึ้น
                     ส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และปลูกยางพาราทดแทนในพื้นที่เดิมเช่นกันกับพื้นที่

                     ที่มีความเหมาะสมสูง พัฒนาตลาดและช่องทางจัดจำหน่ายให้มากขึ้น โดยเน้นการแปรรูปยาง หรือ
                     ไม้ยางพาราเพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจเน้นจากชุมชนที่เข้มแข็งเป็นพื้นที่ต้นแบบ

                           3) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้เข้า
                     ร่วมโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น ทำการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูง

                     โดยพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย และส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และปลูกพืชอื่น
                     ที่ให้ผลตอบแทนพื้นที่สูงทดแทน โดยหน่วยงานที่มีหน้าที่ส่งเสริมด้านการเกษตร ควรแนะนำส่งเสริม
                     ให้ความรู้แก่เกษตรกรที่ปลูกพืชทดแทนและจัดหาตลาดให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชผักทดแทน โดยอาจ

                     เริ่มจากตลาดชุมชน
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35