Page 31 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพัทลุง
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                              26






                           4) พื้นที่ที่มีศักยภาพ หรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกยางพารา แต่เกษตรกรใช้พื้นที่

                     ดังกล่าวปลูกพืชอื่นอยู่ ได้แก่ ไม้ผล ปาล์มน้ำมัน และไม้ยืนต้นอื่น ๆ ควรส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืช
                     ดังกล่าวต่อไป เนื่องจากยุทธศาสตร์ยางพารา เน้นมาตรการลดพื้นที่การปลูกยางพารา ดังนั้น ควร

                     ส่งเสริมให้เกษตรกร เน้นการทำการเกษตรแบบผสมผสาน หรือการเข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่
                     หรือ วนเกษตร เพื่อทำให้เกษตรกรสามารถใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่ามากที่สุดต่อไป

                       4.2  ข้าว
                           1) พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ทำนาในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัด
                     ทางกายภาพต่อการทำนา ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของจังหวัดพัทลุง คณะอนุกรรมการ

                     พัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของจังหวัด
                     และมีการบริหารจัดการน้ำชลประทาน การจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์ข้าว มีการรวมกลุ่มเป็นระบบส่งเสริม
                     การเกษตรแบบแปลงใหญ่พัฒนาต่อยอดครบวงจรด้านการตลาดในและต่างประเทศการแปรรูป แหล่งทุน
                     มีภาครัฐสนับสนุนการทำมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ และส่งเสริมการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี

                     (Good Agricultural Practices : GAP) และเนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง การปลูกพืชหลังนาจะช่วยให้
                     เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน ทั้งนี้ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกร
                     โดยแนะนำว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวจึงไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น

                     หากข้าวราคาไม่ดีถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชไร่ เพื่อที่ในอนาคตจะได้กลับมาทำนาอีก
                           2) พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ทำนาในที่ดิน
                     ที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกข้าว เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง
                     ความชื้นในดิน เป็นต้น ดังนั้น หน่วยงานเกี่ยวข้องควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการดินและน้ำ เพื่อสร้าง
                     ความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน ลดปัญหาการทิ้งถิ่นฐานไปทำงานที่อื่น และพื้นที่ในเขตนี้

                     มีความเหมาะสมสำหรับการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรแม่นยำ หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น ภาครัฐ
                     จึงควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าวราคา
                     ไม่ดีและต้องการปรับเปลี่ยนการผลิต ควรปรับเปลี่ยนเป็นพืชไร่ เพื่อว่าในอนาคตยังสามารถกลับมาทำนาอีก

                           3) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้เข้าร่วม
                     โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น ปรับเปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการทำนา มีต้นทุนต่ำ
                     และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้
                     การช่วยเหลือเกษตรกร เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้าง

                     ที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม และ
                     ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่
                     เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น
                           4) พื้นที่ที่มีศักยภาพ หรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้ใช้

                     พื้นที่ปลูกข้าว แต่ปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น ทุเรียน พืชผัก ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกพืชผัก หากในอนาคต
                     ข้าวราคาดี เกษตรกรอาจกลับมาปลูกข้าวได้เหมือนเดิม แต่หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น การกลับมาปลูกข้าว
                     อาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้น อาจส่งเสริมในเรื่องของการทำเกษตรรูปแบบอื่นทดแทน เช่น ทำการเกษตรแบบ
                     ผสมผสาน
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36