Page 33 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพัทลุง
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                              28






                     จัดการดินและปุ๋ยตามมาตรฐาน ส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ใช้พันธุ์ปาล์มน้ำมัน

                     ที่ได้รับการรับรอง สนับสนุนการรวมกลุ่มเป็นระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่สร้างเครือข่าย
                     ในรูปแบบของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ลานเท กับโรงงานสกัดน้ำมัน ส่งเสริม ให้ความรู้
                     เรื่องการตัดปาล์มน้ำมันที่ได้คุณภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาให้เกษตรกรเพาะปลูก

                     ตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP)
                           2) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน
                     ในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกปาล์มน้ำมัน เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                     ความเป็นกรดเป็นด่าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ เช่น ชลประทาน
                     แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ใช้ปัจจัยการผลิตในอัตราและช่วงเวลาที่เหมาะสม สนับสนุนพันธุ์

                     ปาล์มน้ำมันที่ได้รับการรับรอง จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน พื้นที่ในเขตนี้
                     มีความเหมาะสมสำหรับการเกษตรแบบผสมผสานโดยเฉพาะในช่วงที่ปาล์มน้ำมันอายุน้อยยังไม่ให้
                     ผลผลิต หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น และภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่า

                     ไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หรือถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชที่มีผลตอบแทนดีกว่า
                           3) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้เข้าร่วม
                     โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เพื่อปรับเปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสม
                     กว่าการปลูกปาล์มน้ำมัน มีต้นทุนที่ต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                     หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การช่วยเหลือเกษตรกรสนับสนุนที่ดินทำกิน สนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน
                     ปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำในไร่นา ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม
                     ซึ่งปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นอายุประมาณ 20-25 ปี การปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นจึงเป็นเรื่องยาก
                     ในกรณีที่ปาล์มน้ำมันหมดอายุ ควรส่งเสริมสินค้าเกษตรชนิดอื่น ๆ ที่สามารถปลูกผสมผสานกับปาล์มน้ำมัน

                     หรืออาจเลี้ยงโค กระบือ ในสวนปาล์มน้ำมัน ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่
                           4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน แต่ปัจจุบัน
                     เกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ดังกล่าวในการปลูกปาล์มน้ำมัน โดยหันมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน ได้แก่ ทุเรียน
                     ลองกอง ที่ให้ผลตอบแทนต่อพื้นที่สูง ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเป็นพืชอายุสั้น ในอนาคตสามารถกลับมาปลูก

                     ปาล์มน้ำมันได้อีก แต่หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น การกลับมาปลูกปาล์มน้ำมันอาจเป็นเรื่องยาก
                     โดยเฉพาะการปลูกไม้ผล เช่น ทุเรียน ที่ปัจจุบันราคาดี แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาต้นทุนการผลิตและราคา
                     ผลผลิตร่วมด้วย
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38