Page 33 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุราษฎร์ธานี
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               26







                       ตารางที่ 10  (ต่อ)

                                                ปาล์มน้ำมัน (ไร่)                  ยางพารา (ไร่)
                            อำเภอ
                                           S3        N        รวม            S3         N        รวม
                       กาญจนดิษฐ์        35,150      -        35,150        4,391      -          4,391
                       บ้านนาเดิม           421      -          421          -         -          -
                       คีรีรัฐนิคม        3,709      -         3,709        1,748      -          1,748
                       เมืองสุราษฎร์ธานี   10,189    -        10,189         -         -          -
                             รวม        164,186      -      164,186        66,092      -         66,092

                             4) แนวทางการจัดการ

                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
                       เกษตรกรปลูกทุเรียนต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิต
                       ที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกทุเรียนในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้

                       เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกทุเรียนในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกทุเรียนในที่ดินที่
                       ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกทุเรียนซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกทุเรียนที่สำคัญของจังหวัด
                       กระจายอยู่ในอำเภอบ้านนาสาร อำเภอคีรีรัฐนิคม และอำเภอท่าชนะ เป็นต้น

                                 พื้นที่ปลูกทุเรียนในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูกทุเรียนใน
                       ที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกทุเรียน เช่น ความอุดม-สมบูรณ์ของดิน
                       ความเป็นกรดเป็นด่าง ความชื้น กระจายอยู่ในอำเภอบ้านนาสาร อำเภอท่าฉาง และอำเภอเวียงสระ

                       เป็นต้น
                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) กระจายอยู่ใน
                       อำเภอบ้านนาสาร อำเภอท่าฉาง และอำเภอวิภาวดี เป็นต้น ควรสนับสนุนให้เข้าโครงการบริหาร
                       จัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกทุเรียน มีต้นทุนที่ต่ำ และ
                       ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย


                       3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด
                         3.1  เงาะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเงาะได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) คือ เงาะ
                       โรงเรียนนาสาร (Nasan Rongrien Rambutan) ได้รับการรับรองคุณภาพสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)

                       ในพื้นที่ อำเภอบ้านนาสาร อำเภอเวียงสระ และอำเภอบ้านนาเดิม เป็นสินค้าเกษตร GI ปัจจุบัน
                       เงาะโรงเรียนนาสาร มีผลผลิตดี สร้างรายได้หมุนเวียนเข้าสู่ท้องถิ่น
                         3.2  ข้าวหอมไชยา เป็นพันธุ์พื้นเมืองของอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดว่าเป็นข้าวหอม
                       ที่มีเอกลักษณ์คุณภาพดี กลิ่นหอม และรสชาติอร่อย แต่นับวันจะเลือนหายไปจากสังคมและวิถีชีวิต

                       ของคนอำเภอไชยา เนื่องจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมไชยาส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัย ขาดการสืบทอดต่อรุ่นสู่รุ่น
                       และสร้างรายได้ไม่มากเมื่อเทียบกับการประกอบอาชีพอย่างอื่น (ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสุราษฎร์ธานี, 2562)
                       ดังนั้นการศึกษาสภาพโดยทั่วไปและบริบทการปลูกข้าวหอมไชยาพันธุ์พื้นเมือง และปัจจัยที่มีผลต่อ
                       การปลูกข้าวหอมไชยาพันธุ์พื้นเมือง รวมทั้งรูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อ
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38