Page 35 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุราษฎร์ธานี
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               28







                       จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกพืชสมุนไพรได้หลายชนิด เช่น กระชายดำ
                       ขมิ้นชัน ไพล เป็นต้น
                         กระชายดำ กระชายดำเป็นพืชที่ชอบที่ร่ม ดินร่วนซุยหรือเป็นดินปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี
                       ชอบอากาศหนาวเย็น และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแบ่งเหง้า สามารถขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี

                       จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกไพลที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ
                       402,949 ไร่ กระจายอยู่ในอำเภอพุนพิน อำเภอพนม อำเภอคีรีรัฐนิคม และอำเภอท่าชนะ
                         ขมิ้นชัน เป็นพืชปลูกง่าย ชอบแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี
                       ไม่ชอบน้ำขัง เกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันแซมในสวนเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ และมีรายได้

                       ระหว่างรอการเติบโตของไม้ผล ไม้ยืนต้น โดยพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูก
                       ขมิ้นชันที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 413,036 ไร่ กระจายอยู่ในอำเภอพุนพิน อำเภอพนม
                       อำเภอคีรีรัฐนิคม และอำเภอท่าชนะ
                         บัวบก เป็นพืชเขตร้อน ชอบที่ลุ่มชื้นแฉะเล็กน้อย เช่น ตามขอบคันนา คันดินริมหนอง สระ คลองน้ำ

                       ชอบแสงรำไร มีเถาเลื้อยไปตามผิวดิน บางทีเรียกว่า ไหล ส่วนนี้แหละที่ใช้นำไปปักชำ ขยายพันธุ์
                       ปลูกต่ออายุได้ไปหลายฤดู ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว เจริญเติบโตได้เร็วมากจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่
                       ศักยภาพในการปลูกไพลที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 205,829 ไร่ กระจายอยู่ใน

                       อำเภอท่าชนะ อำเภอไชยา อำเภอพนม และอำเภอเวียงสระ
                         ไพล เจริญได้ดีในดินร่วนซุย ปลูกง่าย ดูแลง่าย สามารถปลูกแซมระหว่างแปลงพืชหลักได้ โดยพื้นที่
                       จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกไพลที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ
                       111,395 ไร่ อยู่ในอำเภอพนม อำเภอดอนสัก อำเภอกาญจนดิษฐ์ และอำเภอคีรีรัฐนิคม

                       4  แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ

                         4.1  ยางพารา
                             1) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่ มีเนื้อที่
                       968,065 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอเคียนซา อำเภอพุนพิน และอำเภอคีรีรัฐนิคม ตามลำดับ

                       ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็น
                       แหล่งปลูกยางพาราคุณภาพดีที่สำคัญของจังหวัด ควรมีการจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์คุณภาพดี โดยรวม
                       กลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาดในและต่างประเทศการแปรรูป แหล่งทุน
                       มีภาครัฐสนับสนุนการทำมาตรฐานสินค้าเกษตร (Good Agricultural Practices : GAP)

                             2) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่
                       มีเนื้อที่ 1,345,406 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอพุนพิน อำเภอท่าฉาง และอำเภอกาญจนดิษฐ์
                       เกษตรกรยังคงปลูกยางพาราได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาโครงสร้างของดิน การสนับสนุน
                       อินทรียวัตถุจะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน ปัญหาการทิ้งถิ่นจะลดลง และพื้นที่ใน

                       เขตนี้มีความเหมาะสมสำหรับการเกษตรแบบผสมผสาน หรือเกษตรทฤษฎีใหม่
                             3) พื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร
                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกยางพาราอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ำซาก เช่น น้ำท่วม ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ

                       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับ
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40