Page 28 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุราษฎร์ธานี
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               21







                                 พื้นที่ปลูกมะพร้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูกมะพร้าวใน
                       ที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกมะพร้าว เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                       ความเป็นกรดเป็นด่างและแหล่งน้ำ กระจายอยู่ในอำเภอเกาะสมุย อำเภอเกาะพะงัน และอำเภอท่าชนะ
                       เป็นต้น

                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) กระจายอยู่ใน
                       อำเภอเกาะสมุย อำเภอเกาะพะงัน และอำเภอไชยา เป็นต้น ควรสนับสนุนให้เข้าโครงการบริหารจัดการ
                       พื้นที่เกษตรกรรม เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกมะพร้าว มีต้นทุนที่ต่ำ และ
                       ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                           2.4  ทุเรียน
                                  ทุเรียนพืชเศรษฐกิจหลักของสุราษฎร์ธานีในลำดับที่ 4 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตร
                       เชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 9 และภาพที่ 12 ถึง 13)
                                    1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกทุเรียน

                                     ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 2,515,396 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 48.18
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอพระแสง 263,747 ไร่ อำเภอพุนพิน 234,554 ไร่
                       อำเภอเคียนซา 233,868 ไร่

                                     ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 1,484,902 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       28.44 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอกาญจนดิษฐ์ 154,113 ไร่ อำเภอพุนพิน
                       152,152 ไร่ และอำเภอเคียนซา 129,924 ไร่
                                     ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 107,389 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.06
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอพนม 34,172 ไร่ อำเภอท่าชนะ 19,484 ไร่

                       และอำเภอไชยา 17,491 ไร่
                                     ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 1,112,984 ไร่
                                  2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกทุเรียนในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน

                       ได้ดังนี้
                                     (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 35,829 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 59.44 ของพื้นที่
                       เหมาะสมสูง กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอบ้านนาสาร 5,898 ไร่ อำเภอคีรีรัฐนิคม 5,578 ไร่ และ
                       อำเภอท่าชนะ 3,968 ไร่

                                     (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 10,566 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 17.53 ของพื้นที่
                       เหมาะสมปานกลาง กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอบ้านนาสาร 3,128 ไร่ อำเภอท่าฉาง 1,611 ไร่ และ
                       อำเภอเวียงสระ 951 ไร่
                                     (3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 1,042 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.73 ของพื้นที่

                       เหมาะสมเล็กน้อย กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอบ้านนาสาร 3,128 ไร่ อำเภอท่าฉาง 1,611 ไร่ และ
                       อำเภอวิภาวดี 127 ไร่
                                     (4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) ในการปลูกทุเรียน มีเนื้อที่ 12,845 ไร่
                                    3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกทุเรียนแต่ไม่ใช้พื้นที่ปลูก

                       พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกทุเรียน และพื้นที่ปลูกทุเรียนในชั้นความเหมาะสม
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33