Page 34 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุราษฎร์ธานี
P. 34
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
27
การส่งเสริมการปลูกข้าวหอมไชยาพันธุ์พื้นเมือง เป็นการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองให้อยู่คู่ชุมชนและ
ท้องถิ่นสืบไป ในปัจจุบันเกษตรกรในพื้นที่อำเภอไชยามีจำนวนไม่มากนักที่ปลูกข้าวหอมไชยา
พันธุ์พื้นเมืองโดยคงเหลือเกษตรกรเพียงกลุ่มเดียวที่ยังปลูกข้าวหอมไชยาพันธุ์พื้นเมือง คือ
กลุ่มเกษตรกรอนุรักษ์พันธุ์ข้าวหอมไชยา โดยมีสมาชิกจำนวน 13 ราย
3.3 ลองกอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งผลิตลองกองที่สำคัญของภาคใต้ เกษตรกรมีการปลูก
แบบรายเดียวและรวมกลุ่มผลิต ผลผลิตมีการส่งจำหน่ายไปยังตลาดสำคัญในประเทศ และส่งออกตลาด
ต่างประเทศ มีเกษตรกรรวมกลุ่มกันปลูกลองกอง คือ “กลุ่มแปลงใหญ่ลองกองอำเภอบ้านตาขุน”
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอบ้านตาขุน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ลองกองเพียงกลุ่มเดียวในภาคใต้ตอนบน สามารถสร้าง
รายได้ให้กลุ่มกว่า 2.3 ล้านบาทต่อปี รวมถึงผลผลิตของกลุ่มได้รับการรับรองมาตรฐานตามการปฏิบัติ
ทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) จึงสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภคและผู้ค้าได้
ว่าผลผลิตลองกองของกลุ่มมีคุณภาพและได้มาตรฐาน ซึ่งในอดีตที่บริเวณนี้เป็นต้นแม่น้ำพุมดวง
เป็นสายน้ำที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ดีบุก ส่งผลให้ลองกองมีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ โดยประมาณ
ปี 2525 ชาวบ้านได้ซื้อลองกองจากจังหวัดนราธิวาสมารับประทาน พบว่า รสชาติดี และราคา
แพงมากในช่วงเวลานั้น จึงใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการเสียบยอด โดยตัดตอลางสาดเสียบยอด
ลองกอง ผลผลิตที่ออกมาจึงมีความหอม รสชาติหวานอร่อย เมื่อผลสุกเปลือกจะบางและมีสีทอง
เนื้อในจะมีสีขาวใสอมชมพู
3.4 มะพร้าว ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) คือ มะพร้าวเกาะพะงัน มีลักษณะเด่น
คือ ทรงกลมรียาว เปลือกและเส้นใยมีความเหนียว กะลามีสีน้ำตาลแก่ เนื้อมะพร้าวขาวใสเนื้อแน่น 2 ชั้น
หอมกะทิสดมีความหอมมัน เป็นเอกลักษณ์ปลูกในตำบลบ้านใต้ อำเภอเกาะพะงัน มีผลผลิต
2,243.70 ตันต่อปี
3.5 พริกไทยดำ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งผลิตพริกไทยที่สำคัญของภาคใต้ เกษตรกร
มีการปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองและมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เช่น เม็ดเล็กแต่เผ็ดร้อน หอมแรง โดยน้ำมัน
หอมระเหยในพริกไทยดำมีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย แก้โรคลมชัก บรรเทาอาการนอนไม่หลับ
บำรุงประสาทและอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาดอีกเป็นจำนวนมาก แต่เกษตรกร
ยังผลิตได้ไม่เพียงพอต่อการส่งออกในแต่ละปีและยังมีราคาสูงกว่ายางพาราหลายสิบเท่า พริกไทยแก่
ที่นำไปตากแห้งเป็นพริกไทยดำหรือพริกไทยขาว และพริกไทยอ่อนมีราคาสูงกิโลกรัมละ 200 บาท
เป็นที่ต้องการของลูกค้าผู้ประกอบอาหารในเมนูอาหารรสจัดจ้านต่าง ๆ ทั้งผัดเผ็ด คั่วกลิ้ง ผัดฉ่า
ผัดพริกไทยดำ มีกลุ่มเกษตรกร คือ กลุ่มสัมมาชีพพริกไทยดำ บ้านเขาปูน สร้างเป็นแหล่งธนาคาร
เมล็ดพันธุ์ที่สำคัญ
3.6 พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green
Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่ง
ที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสารสำคัญที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือกในปี 2564
โดยดำเนินการภายใต้ตลาดนำการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจะช่วย
ให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการดำรงชีพ จากฐานข้อมูล Agri-Map Online