Page 36 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุราษฎร์ธานี
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               29







                       โครงสร้างที่ดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม เป็นการสร้าง
                       รายได้ และผลิตอาหารเพื่อบริโภค
                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกยางพารา แต่ปัจจุบันเกษตรกร
                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกยางพารา พบว่า เกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มะพร้าว มังคุด

                       กาแฟ (โรบัสต้า) เป็นต้น ในส่วนนี้ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจถึงสถานการณ์ด้านการเกษตรใน
                       ปัจจุบัน โดยเฉพาะยางพาราเป็นพืชที่มีนโยบายลดพื้นที่ปลูกเนื่องจากมีปริมาณผลผลิตมากส่งผลให้
                       ราคาตกต่ำ แต่ในอนาคตหากตลาดมีความต้องการผลผลิตเพิ่มมากขึ้นอาจอาจสนับสนุนให้เกษตรกร
                       กลับมาปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าว

                         4.2  ปาล์มน้ำมัน
                             1) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกปาล์มน้ำมันอยู่
                       มีเนื้อที่ 258,456 ไร่ อยู่ในเขตอำเภอท่าชนะ อำเภอพระแสง และอำเภอพนม และกระจายตัวทุกอำเภอ
                       ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นพื้นที่

                       ปลูกปาล์มน้ำมันที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำอย่างดี รวมทั้งการจัดการดินและปุ๋ย
                       ตามมาตรฐาน ส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ใช้พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ได้รับการรับรอง
                       สนับสนุนการรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ สร้างเครือข่ายในรูปแบบของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร

                       วิสาหกิจชุมชน ลานเท กับโรงงานสกัดน้ำมัน ส่งเสริม ให้ความรู้เรื่องการตัดปาล์มน้ำมันที่ได้คุณภาพ
                       เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาให้เกษตรกรเพาะปลูกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
                       (Good Agricultural Practices : GAP)
                             2) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกปาล์มน้ำมันอยู่
                       มีเนื้อที่มากถึง 583,933 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอพระแสง อำเภอท่าชนะ และอำเภอชัยบุรี และ

                       กระจายตัวทุกอำเภอ เป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีข้อจำกัดไม่มากนัก ควรสนับสนุนด้านการบริหาร
                       จัดการน้ำ เช่น ชลประทาน แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ใช้ปัจจัยการผลิตในอัตราและช่วงเวลา
                       ที่เหมาะสม สนับสนุนพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ได้รับการรับรอง จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูก

                       ปาล์มน้ำมัน พื้นที่ในเขตนี้มีความเหมาะสมสำหรับการเกษตรแบบผสมผสานโดยเฉพาะในช่วงที่
                       ปาล์มน้ำมันอายุน้อยยังไม่ให้ผลผลิต หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น และภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจ
                       กับเกษตรกรโดยแนะนำว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หรือถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดพืช
                       ควรเป็นพืชที่มีผลตอบแทนดีกว่า

                             3) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้
                       ที่ดินปลูกปาล์มน้ำมันอยู่ มีประมาณกว่าสามแสนไร่ ซึ่งประสบปัญหาซ้ำซาก เช่น น้ำท่วม ขาดน้ำ
                       ผลผลิตต่ำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุน
                       การปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดินสนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มี

                       ความเหมาะสม และปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นอายุประมาณ 20-25 ปี การปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น
                       จึงเป็นเรื่องยากในกรณีที่ปาล์มน้ำมันหมดอายุ ลงทุนน้อยกว่าและให้ผลตอบแทนที่ดี ส่งเสริมสินค้า
                       เกษตรชนิดอื่น ๆ ที่สามารถปลูก เลี้ยง หรืออยู่ร่วมกันได้ในสวนปาล์มน้ำมัน ตามความเหมาะสมในแต่
                       ละพื้นที่ ทั้งนี้เกษตรกรสามารถเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map)

                       เป็นต้น
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41