Page 37 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุราษฎร์ธานี
P. 37
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
30
4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน แต่ปัจจุบัน
เกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยหันมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น ทุเรียน มะพร้าว
มังคุด เงาะกาแฟ (โรบัสต้า) เป็นต้น ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเป็นพืชไร่ ในอนาคตสามารถกลับมาปลูก
ปาล์มน้ำมันได้อีก แต่หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น การกลับมาปลูกปาล์มน้ำมันอาจเป็นเรื่องยาก
โดยเฉพาะการปลูกไม้ผล เช่น ทุเรียน ที่ปัจจุบันราคาดี แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาต้นทุนการผลิตและราคา
ผลผลิตร่วมด้วย
4.3 มะพร้าว
1) พื้นที่ปลูกมะพร้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกมะพร้าวอยู่ มีเนื้อที่
1,212 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอดอนสัก อำเภอท่าชนะ และอำเภอไชยา ตามลำดับ ทั้งนี้โดย
คณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งปลูก
มะพร้าวคุณภาพดีที่สำคัญของจังหวัด ควรมีการจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์คุณภาพดี โดยรวมกลุ่มเป็น
เกษตรแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาดในและต่างประเทศการแปรรูป แหล่งทุน
มีภาครัฐสนับสนุนการทำมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
(Good Agricultural Practices : GAP) และเนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง
2) พื้นที่ปลูกมะพร้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกมะพร้าวอยู่
มีเนื้อที่ 49,137 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอเกาะสมุย อำเภอเกาะพะงัน และอำเภอท่าชนะ เป็นต้น
เกษตรกรยังคงปลูกมะพร้าวได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาโครงสร้างของดิน การสนับสนุน
อินทรียวัตถุจะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน ปัญหาการทิ้งถิ่นจะลดลง และพื้นที่ใน
เขตนี้มีความเหมาะสมสำหรับการเกษตรแบบผสมผสาน หรือเกษตรทฤษฎีใหม่
3) พื้นที่ปลูกมะพร้าวในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคง
ใช้ที่ดินปลูกมะพร้าวอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ำซาก เช่น น้ำท่วม ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน
สนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม เป็นการสร้างรายได้ และ
ผลิตอาหารเพื่อบริโภค
4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกมะพร้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกร
ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกมะพร้าว พบว่า เกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ทุเรียน มังคุด กาแฟ (โรบัสต้า) เงาะ
ข้าว เป็นต้น ในส่วนนี้ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจถึงสถานการณ์ด้านการเกษตรในปัจจุบัน
โดยเฉพาะมะพร้าวเป็นพืชที่มีนโยบายลดพื้นที่ปลูกเนื่องจากมีปริมาณผลผลิตมากส่งผลให้ราคาตกต่ำ
แต่ในอนาคตถ้าราคาดีและตลาดมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นอาจอาจสนับสนุนให้เกษตรกรกลับมา
ปลูกมะพร้าวในพื้นที่ดังกล่าว
4.4 ทุเรียน
1) พื้นที่ปลูกทุเรียนที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกทุเรียนอยู่ มีเนื้อที่
35,829 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอบ้านนาสาร อำเภอคีรีรัฐนิคม และอำเภอท่าชนะ ตามลำดับ
ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็น
พื้นที่ปลูกทุเรียนที่สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำอย่างดี รวมทั้งการจัดการดินและปุ๋ย
ตามมาตรฐาน ส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สนับสนุนการรวมกลุ่มเป็นเกษตร