Page 38 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสุราษฎร์ธานี
P. 38

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               31







                       แปลงใหญ่ สร้างเครือข่ายในรูปแบบของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ปรับเปลี่ยนวิถี
                       การผลิตสู่การผลิตผลไม้ครบวงจร เช่น บริหารจัดการผลผลิตแบบป้องกันความเสี่ยงโดยใช้
                       การตลาดนำการผลิตเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาให้เกษตรกรเพาะปลูกตามการปฏิบัติ
                       ทางการเกษตรที่ดีตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP)

                       เน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพทุเรียนทั้งในและนอกฤดู
                       ให้สอดคล้องตามฤดูกาล การผลิตผลไม้คุณภาพตามแหล่งกำเนิดภูมิศาสตร์ (GI) และไม้ผลอัตลักษณ์
                       ของจังหวัด
                             2) พื้นที่ปลูกทุเรียนที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกทุเรียนอยู่ มีเนื้อที่

                       10,566 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอบ้านนาสาร อำเภอท่าฉาง และอำเภอเวียงสระ เป็นต้น เกษตรกร
                       ยังคงปลูกทุเรียนได้ผลดี ควรมีการสนับสนุนอินทรียวัตถุ เนื่องจากเป็นไม้ผล ซึ่งบางช่วงมีความ
                       ต้องการการใช้น้ำในปริมาณที่มาก ควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ เช่น ชลประทาน แหล่งน้ำ
                       ในไร่นานอกเขตชลประทาน ใช้ปัจจัยการผลิตในอัตราและช่วงเวลาที่เหมาะสม จะสร้างความมั่นใจ

                       ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าไม่ควร
                       ปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หรือถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชที่มีผลตอบแทนดีกว่า
                             3) พื้นที่ปลูกทุเรียนในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคง

                       ใช้ที่ดินปลูกทุเรียนอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ำซาก เช่น น้ำท่วม ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำกระทรวง
                       เกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน
                       ปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ หาแหล่งเงินทุนประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แนวทางการบริหาร
                       จัดการให้แก่เกษตรกร ในกรณีที่ทุเรียนหมดอายุต้องโค่นทิ้งให้ผลผลิตลดต่ำลง ต้องใช้ทุนเพิ่มมากขึ้น
                       ทั้งนี้เกษตรกรสามารถเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้

                       พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning
                       by Agri-Map) เป็นต้น
                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกทุเรียน แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้

                       ใช้พื้นที่ปลูก โดยหันมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น มะพร้าว มังคุด กาแฟ (โรบัสต้า) เงาะ ข้าว เป็นต้น
                       ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเป็นพืชไร่ ในอนาคตสามารถกลับมาปลูกทุเรียนได้อีก แต่หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น
                       อาจเป็นเรื่องยาก ต้องรอจนพืชเดิมครบอายุตัดโค่น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาต้นทุนการผลิตร่วมด้วย ภาครัฐ
                       ควรประชาสัมพันธ์และสร้างมาตรการจูงใจให้เกษตรกรกลับมาปลูกทุเรียนในพื้นที่นี้หรือทำในรูปแบบ

                       สวนผสมระหว่างไม้ผลเขตร้อน เช่น เงาะ มังคุด ลองกอง เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาลักษณะทาง
                       การตลาดร่วมด้วย
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43