Page 20 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดระยอง
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               13








                       ตารางที่ 6  พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตมันสำปะหลัง

                                                ปาล์มน้ำมัน (ไร่)                  ยางพารา (ไร่)
                           อำเภอ
                                         S3          N          รวม         S3          N         รวม
                       แกลง              1,415         66       1,481         79           -         79
                       เขาชะเมา             25           -         25           -          -           -
                       นิคมพัฒนา             -        395         395           -         11         11
                       บ้านค่าย              -        327         327        850          21        871
                       บ้านฉาง               -       1,119      1,119          8           -          8
                       ปลวกแดง               -      10,960     10,960           -          -           -
                       เมืองระยอง            -        145         145         73         372        445
                       วังจันทร์           217       1,157      1,374         57          17         74
                            รวม          1,657      14,169     15,826       1,067        421       1,488

                             4) แนวทางการจัดการ
                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
                       ปลูกมันสำปะหลังต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มี

                       คุณภาพดี ซึ่งการปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญ
                       ต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง
                       ในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกมัน

                       สำปะหลังที่สำคัญของจังหวัด โดยกระจายอยู่อำเภอบ้านฉาง อำเภอเมืองระยอง และอำเภอปลวกแดง
                                 พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูก
                       มันสำปะหลังในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกมันสำปะหลัง เช่น ความอุดม
                       สมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง ความชื้น โดยกระจายอยู่ในอำเภอบ้านฉาง อำเภอปลวกแดง และ

                       อำเภอเมืองระยอง
                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
                       เข้าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกมันสำปะหลัง

                       มีต้นทุนต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
                         2.3  ทุเรียน

                             ทุเรียนพืชเศรษฐกิจหลักของระยองในลำดับที่ 3 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ
                       Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 7 และภาพที่ 12 - 13)
                             1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกทุเรียน

                               ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 402,648 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 20.95 ของ
                       พื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอแกลง  171,414 ไร่ อำเภอวังจันทร์  104,355 ไร่ และ
                       อำเภอเมืองระยอง  78,672 ไร่
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25