Page 32 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดหนองคาย
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               25







                       ขายไดราคาดีทั้งลูกมะพราวและหนอพันธุ สรางรายไดเฉลี่ยไมต่ำกวา 1,000 บาท ตอตนตอป
                       พิจารณาจากพื้นที่ในการสงเสริมการปลูกมะพราว ควรสงเสริมในพื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีศักยภาพ
                       คงเหลือ 1,136 ไร ในอำเภอรัตนวาป และพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) ที่มีศักยภาพคงเหลือ
                       392,551 ไร ที่กระจายอยูในทุกอำเภอของจังหวัดหนองคาย โดยสวนใหญอยูในอำเภอโพนพิสัย

                       อำเภอรัตนวาป และอำเภอเฝาไร
                              3.5 พืชสมุนไพร ดวยนโยบายของรัฐบาลที่ใหการสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio Circular
                       Green Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเปน
                       เรื่องหนึ่งที่ไดรับความสนใจ เนื่องจากเปนแหลงของสาระสำคัญที่นำไปใชประโยชนในดานตาง ๆ เชน

                       การแพทย ผลิตภัณฑเสริมอาหาร และเครื่องสำอาง จึงสนับสนุนใหพืชสมุนไพรเปนพืชทางเลือก
                       ในป 2564 โดยดำเนินการภายใตตลาดนำการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
                       จะชวยใหเกษตรกรผูปลูกพืชสมุนไพร มีรายไดและความมั่นคงในการดํารงชีพจากฐานขอมูล
                       Agri-Map Online จังหวัดหนองคายมีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถสงเสริมใหปลูกพืชสมุนไพรไดหลายชนิด

                       ไดแก กระชายดำ ขมิ้นชัน บัวบก และไพล

                               กระชายดำ เปนไมลมลุกมีอายุหลายป  มีเหงาอยูใตดินเจริญเติบโตและลงหัวไดดีในดินรวน
                       ปนทราย มีการระบายน้ำดีไมชอบน้ำขัง ไมชอบแดดจัด ชอบแดดรมรำไร เกษตรกรจึงนิยมปลูก
                       กระชายดำระหวางแถวไมยืนตน อายุเก็บเกี่ยวของกระชายดำ ประมาณ 8 - 9 เดือน 1 ไร จะได
                       ผลผลิต ประมาณ 1,000 - 2,000 กิโลกรัม โดยพื้นที่จังหวัดหนองคาย มีพื้นที่ศักยภาพในการปลูก

                       กระชายดำที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 172,874 ไร กระจายอยูในอำเภอโพนพิสัย
                       อำเภอเมืองหนองคาย และอำเภอสังคม

                             ขมิ้นชัน เปนพืชปลูกงาย ชอบแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง ชอบดินรวนซุย มีการระบายน้ำดี
                       ไมชอบน้ำขัง เกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันแซมในสวนเปนการใชพื้นที่ใหเกิดประโยชน และมีรายได
                       ระหวางรอการเติบโตของยางพาราหรือปาลมน้ำมัน โดยพื้นที่จังหวัดหนองคาย มีพื้นที่ศักยภาพใน

                       การปลูกขมิ้นชันที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 184,431 ไร กระจายอยูในอำเภอสังคม
                       อำเภอโพนพิสัย และอำเภอเมืองหนองคาย

                             บัวบก ขยายพันธุไดโดยใชเมล็ด และใชลำตนหรือที่เรียกวาไหล บัวบกสามารถขึ้นไดดีทั้งในที่รม
                       และที่โลงแจง แตจะเจริญเติบโตไดดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณและมีความชื้นในดินพอเหมาะ

                       ในกรณีที่ตองการปรับปรุงดินควรใสปุยอินทรียหรือปุยคอก ดูแลงาย สามารถปลูกแซมระหวางแปลง
                       พืชหลักได โดยพื้นที่จังหวัดหนองคาย มีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกบัวบกที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1)
                       ประมาณ 1,388 ไร กระจายอยูในอำเภอเฝาไร และอำเภอศรีเชียงใหม

                             ไพล เจริญไดดีในดินรวนซุย ปลูกงาย ดูแลงาย สามารถปลูกแซมระหวางแปลงพืชหลัก โดย
                       พื้นที่จังหวัดหนองคายมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกไพลที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ

                       20,533 ไร กระจายอยูในอำเภอโพนพิสัย อำเภอศรีเชียงใหม และอำเภอทาบอ
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37