Page 27 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดหนองคาย
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               20







                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไมเหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนใหเขา
                       โครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เชน เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกวาการปลูกออยโรงงาน มีตนทุนที่ต่ำ
                       และใหผลตอบแทนที่ดีกวา เปนตน แตทั้งนี้ตองพิจารณาแหลงรับซื้อรวมดวย

                         2.4  ปาลมน้ำมัน
                             ปาลมน้ำมันเปนพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดหนองคายในลำดับที่ 4 จากฐานขอมูลในแผน

                       ที่เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะหขอมูลไดดังนี้ (ตารางที่ 9 และภาพที่ 12 ถึง 13)

                             1) การวิเคราะหศักยภาพของพื้นที่ปลูกปาลมน้ำมัน (ไมมีพื้นที่ความเหมาะสมสูง S1)
                               ระดับที่ 2 เปนพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 56,981 ไร คิดเปนรอยละ
                       3.08 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน อยูในอำเภออำเภอรัตนวาปทั้งหมด

                               ระดับที่ 3 เปนพื้นที่ความเหมาะสมเล็กนอย (S3) มีเนื้อที่ 527,289 ไร คิดเปนรอยละ
                       28.53  ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากอยูในอำเภอโพนพิสัย 206,756 ไร อำเภอเฝาไร 131,232 ไร
                       และอำเภอเมืองหนองคาย 106,653 ไร
                               ระดับที่ 4 เปนพื้นที่ไมเหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 1,263,782 ไร

                             2) การวิเคราะหพื้นที่ปลูกปาลมน้ำมันในปจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน

                       ไดดังนี้
                               (1)  พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 547 ไร คิดเปนรอยละ 0.96 ของพื้นที่
                       ศักยภาพปานกลาง อยูในอำเภอรัตนวาปทั้งหมด
                               (2)  พื้นที่เหมาะสมเล็กนอย (S3) มีเนื้อที่ 6,032 ไร คิดเปนรอยละ 1.14 ของพื้นที่ศักยภาพ
                       เล็กนอย พบมากอยูในอำเภอโพนพิสัย 3,984 ไร อำเภอเฝาไร 867 ไร และอำเภอรัตนวาป 691 ไร

                               (3)  พื้นที่ไมเหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 10,710  ไร

                               3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกปาลมน้ำมันแตไมใชพื้นที่ปลูก
                       พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกปาลมน้ำมันและพื้นที่ปาลมน้ำมันในชั้นความ
                       เหมาะสมตาง ๆ (ปลูกจริง) พบวา จังหวัดหนองคายมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับความเหมาะสม
                       ปานกลาง (S2) 56,434 ไร อยูในอำเภอรัตนวาปทั้งหมด
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32