Page 12 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดหนองคาย
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                5







                       สำหรับพื้นที่ดำเนินการแตละกิจกรรมรวมกันมากกวา 500 ไร มีจำนวน 23 กิจกรรม และกิจกรรมที่มี
                       พื้นที่ปลูกมาก ไดแก ขาวนาป ยางพารา ขาวนาปรัง เปนตน (ตารางผนวกที่ 5)
                             ทะเบียนเกษตรกรพืชสมุนไพรจากฐานขอมูลกลาง (Farmer one) ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
                       เกษตรกรไดขึ้นทะเบียนปลูกพืชสมุนไพรในจังหวัดหนองคาย พื้นที่ 435 ไร เกษตรกร 16 ราย

                       มีพืชสมุนไพรหลัก 10 ชนิด พืชสมุนไพรที่มีการปลูกมาก ไดแก พริกไทย กฤษณา บุก ตามลำดับ
                       (ตารางผนวกที่ 6)

                         1.9  ที่ตั้งโรงงานและแหลงรับซื้อสินคาเกษตร
                             จังหวัดหนองคายมีแหลงรับซื้อสินคาเกษตรและสหกรณการเกษตรที่สำคัญ จำนวน 41 แหง
                       และที่ตั้งโรงงานทางการเกษตร 40 แหง โดยมีที่ตั้งสหกรณการเกษตรมากที่สุด 37 แหง (ตารางผนวกที่ 7)

                       2. การวิเคราะหพืชเศรษฐกิจหลัก


                           พืชเศรษฐกิจที่สำคัญพิจารณาจากพืชที่มีพื้นที่ปลูกมากและมีมูลคาการสงออกหรือแปรรูปโดย
                       กระทรวงเกษตรและสหกรณประกาศพืชเศรษฐกิจ 13 ชนิดพืช ไดแก ขาว มันสำปะหลัง ยางพารา
                       ปาลมน้ำมัน ออยโรงงาน ขาวโพดเลี้ยงสัตว สับปะรดโรงงาน ลำไย เงาะ ทุเรียน มังคุด มะพราว และ

                       กาแฟ จากพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจดังกลาว กรมพัฒนาที่ดินไดกำหนดระดับความเหมาะสมของพื้นที่
                       ปลูกรายจังหวัด โดยวิเคราะหจากสภาพพื้นที่ ลักษณะของดิน ปริมาณน้ำฝน แหลงน้ำชลประทาน
                       รวมกับการจัดการพื้นที่และลักษณะรายพืช โดยแบงระดับความเหมาะสม เปน 4 ระดับ ไดแก
                           ระดับที่ 1 เปนพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) การปลูกพืชใหผลตอบแทนสูง
                           ระดับที่ 2 เปนพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) การปลูกพืชใหผลตอบแทนสูง แตพบ

                       ขอจำกัดบางประการซึ่งสามารถบริหารจัดการได
                           ระดับที่ 3 เปนพื้นที่ความเหมาะสมเล็กนอย (S3) มีขอจำกัดบางประการของดินและน้ำ สงผลใหการผลิตพืช
                       ใหผลตอบแทนต่ำ การใชพื้นที่ตองใชตนทุนสูงในการจัดการ และมีความเสี่ยงจากน้ำทวมและขาดน้ำ

                           ระดับที่ 4 เปนพื้นที่ไมเหมาะสม (N)
                           จังหวัดหนองคาย มีพื้นที่พืชเศรษฐกิจสำคัญที่ปลูกมาก 4 ลำดับแรก ไดแก ขาว ยางพารา
                       ออยโรงงาน และปาลมน้ำมัน ตามลำดับ (ตารางที่ 2)

                       ตารางที่ 2  พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีพื้นที่ปลูกมาก 4 ลำดับแรกของจังหวัดหนองคาย

                                พืชเศรษฐกิจ                  เนื้อที่ (ไร)     รอยละของพื้นที่เกษตรกรรม
                             1. ขาว                          653,989                     48.16

                             2. ยางพารา                       342,215                     25.20
                             3. ออยโรงงาน                     60,574                      4.46

                             4. ปาลมน้ำมัน                    17,290                      1.27
                       ที่มา: https://agri-map-online.moac.go.th, 2564
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17