Page 10 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดหนองคาย
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                3







                       เกษตรกรปาดหนาดินที่เปนชั้นดินทรายและหนาออกทำคันนา บริเวณมีชั้นดินเหนียวอยูดานลาง
                       บริเวณนั้นเก็บกักน้ำได มักจะพบชั้นลูกรังในชวงที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อดินจากเนื้อดินหยาบเปน
                       เนื้อดินละเอียด คาปฏิกิริยาดินในสนามสวนใหญเปนกรดจัดถึงเปนกลาง บริเวณที่มีผลกระทบจากเกลือ
                       ดินมีคาปฏิกิริยาดินเปนกลางถึงดางปานกลาง และมีคราบเกลือบริเวณผิวหนาดิน บริเวณที่ดอนแบบลูก

                       คลื่นลอนลาด การระบายน้ำดีปานกลางถึงคอนขางดีเกินไป สีน้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง เหลืองจนถึงแดง
                       และอาจพบจุดประสีเล็กนอย คาปฏิกิริยาดินเปนกรดจัดถึงเปนกรดเล็กนอย เชน ชุดดินชำนิ (Cni)
                       ชุดดินละหานทราย (Lah) ชุดดินโพนพิสัย (Pp) ชุดดินปลาปาก (Ppk) ชุดดินทาอุเทน (Tu) และ
                       ชุดดินเพ็ญ (Pn)

                               (2) พื้นที่เปนแบบลูกคลื่นลอนลาดเล็กนอยถึงสภาพพื้นที่แบบเนินเขา ดินมีการระบายน้ำ
                       คอนขางดีถึงดี สีน้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง เหลือง น้ำตาลปนแดง เหลืองปนแดง จนถึงแดง เนื้อดินมี
                       ทรายปนอยางชัดเจน บางบริเวณพบลูกรังในหนาตัดดิน คาปฏิกิริยาดินเปนกรดจัดถึงเปนกรด
                       ปานกลาง ชุดดินสีทน (St) พบบริเวณพื้นที่ลักษณะเปนรอง ชุดดินรอยเอ็ด (Re) พบบริเวณพื้นที่ราบ

                       ชุดดินพระทองคำ (Ptk) ชุดดินคำบง (Kg) ชุดดินปกธงชัย (Ptc) และชุดดินหวยแถลง (Ht) พบบริเวณ
                       พื้นที่ลักษณะเปนที่คอนขางราบถึงเปนลูกคลื่น สำหรับดินที่เกิดความไมตอเนื่องทางธรณีวิทยา
                       (Lithologic discontinuities) มักเปนชั้นดินทรายในตอนบนแลวเปลี่ยนเปนดินเหนียวหรือชั้นหินพื้น

                       (weathering insitu) ในตอนลาง (Abrupt textural change) เชน ชุดดินพล (Pho) ชุดดินเขมราฐ (Kmr)
                       ชุดดินหนองบัวแดง (Nbd) ชุดดินโนนแดง (Ndg) และชุดดินนาดูน (Nad)

                             4) พื้นที่ลาดเชิงเขา (Piedmont) เขา (Hill) ภูเขา (Mountain) มีสภาพพื้นที่เปน
                       ลูกคลื่นลอนลาดถึงเนินเขา ที่เกิดจากการที่หินผุพังสลายตัวอยูกับที่หรือถูกเคลื่อนยายโดยแรงโนมถวง
                       ของโลกในระยะทางใกล ๆ และถูกควบคุมดวยลักษณะของโครงสรางทางธรณีวิทยา สวนใหญพบหิน

                       ปะปนในหนาตัดดินและลอยหนา แบงตามลักษณะและชนิดของหินดังนี้
                               (1) พัฒนาจากหินทราย ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก เนื้อดินเปนทรายปน
                       ดินรวนถึงดินรวนปนชิ้นสวนหยาบมาก สีแดง น้ำตาล และน้ำตาลปนแดง การระบายน้ำดีถึงมากเกินไป
                       พบเศษหินปะปนในหนาตัดดินหรือบนผิวดิน เชน ชุดดินภูพาน (Pu) และชุดดินวังน้ำเขียว (Wk)

                               (2) พัฒนาจากหินดินดาน ดินลึก สีน้ำตาล น้ำตาลปนเหลือง น้ำตาลปนแดง เหลือง
                       หรือแดง เปนดินเหนียว คาปฏิกิริยาดินเปนกรดปานกลางถึงเปนกลาง การระบายน้ำดีปานกลางถึงดี
                       เชน ชุดดินวังสะพุง (Ws) และชุดดินมวกเหล็ก (Ml)
                               (3)  พัฒนาจากหินภูเขาไฟ ดินมีการระบายน้ำดีปานกลางถึงดี สีดำ น้ำตาล น้ำตาลปนแดง ถึงแดง

                       คาปฏิกิริยาดินเปนกรดปานกลางถึงเปนดางปานกลาง เชน ชุดดินบานจอง (Bg) ชุดดินเชียงของ (Cg)
                       และชุดดินแกงคอย (Kak)
                               (4)  พัฒนาจากหินแกรนิต ดินมีการระบายน้ำดีปานกลางถึงดี สีดำ น้ำตาล น้ำตาลปนเทา
                       น้ำตาลปนแดง คาปฏิกิริยาดินเปนกรดปานกลางถึงดางปานกลาง เชน ชุดดินเลย (Lo) และชุดดินภูสะนา (Ps)

                             5) พื้นที่ลาดชันเชิงซอน เปนพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกวารอยละ 35 ทรัพยากรดิน

                       มีความแตกตางกันออกไปในแตละพื้นที่

                             ซึ่งไดแสดงรายละเอียดของชุดดินที่พบมากของจังหวัดหนองคาย ในภาพที่ 1 - 5
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15