Page 28 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดมุกดาหาร
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               21








                       3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด

                         3.1  โคเนื อหนองสูง ได้มีการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปศุสัตว์และประมงจังหวัดมุกดาหาร
                       เป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิตแปลงใหญ่โคเนื้อคุณภาพสูง และโคขุนหนองสูงตลอดห่วงโซ่การผลิต
                       ตั้งแต่กระบวนการเลี้ยงโค การแปรรูปจนถึงกระบวนการส่งออกซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร

                       ผู้เลี้ยงโคในพื้นที่ได้ และจังหวัดมุกดาหารยังมีการส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงปลานิล ซึ่งถือเป็น
                       สัตว์เศรษฐกิจของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในพื้นที่ โดยการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงปลานิล การแปรรูป
                       ปลานิล และส่งเสริมการตลาดปลานิล เป็นการท้าให้กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในพื้นที่มีรายได้
                       เพิ่มมากขึ้น (ส านักงานจังหวัดมุกดาหาร, 2564)

                         3.2  ข้าวอินทรีย์ ได้มีการพัฒนาและส่งเสริมการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

                       เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวให้ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เพื่อส่งเสริม
                       สินค้าเกษตรข้าวอินทรีย์ให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่หันมา
                       ปลูกพืชนอกฤดูกาล เพื่อเพิ่มรายได้และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในชุมชน (ส านักงานจังหวัด
                       มุกดาหาร, 2564)


                         3.3  พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green
                       Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่งที่
                       ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสาระส าคัญที่น าไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์
                       ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องส าอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือกในปี 2564
                       โดยด าเนินการภายใต้ตลาดน าการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจะช่วย

                       ให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพรมีรายได้และความมั่นคงในการด ารงชีพ จากฐานข้อมูล Agri-Map Online
                       จังหวัดมุกดาหารมีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกพืชสมุนไพรได้หลายชนิด เช่น ขมิ้นชัน
                       กระชายด า

                             ขมิ้นชัน เป็นพืชปลูกง่าย ชอบแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ าดี
                       ไม่ชอบน้ าขัง เกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันแซมในสวนเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ และมีรายได้
                       ระหว่างรอการเติบโตของมันส าปะหลังหรือปาล์มน้ ามัน โดยพื้นที่จังหวัดมุกดาหารมีพื้นที่ศักยภาพใน
                       การปลูกขมิ้นชันที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) 45,755 ไร่ กระจายอยู่ในทุกอ าเภอของจังหวัด

                       มุกดาหาร โดยอ าเภอเมืองมุกดาหารมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกขมิ้นชันมากที่สุด
                             กระชายด า เป็นพืชที่ชอบที่ร่ม ดินร่วนซุยหรือเป็นดินปนทราย มีการระบายน้ าดี ชอบอากาศ
                       หนาวเย็น และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแบ่งเหง้า สามารถขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี แต่ถ้าต้องการให้หัว
                       หรือเหง้ามีคุณภาพต้องปลูกและเก็บเกี่ยวตามฤดูกาล คือปลูกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม

                       และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม เกษตรกรสามารถปลูกกระชายด าแซมในสวนเป็น
                       การใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ และมีรายได้ระหว่างรอการเติบโตของมันส าปะหลังหรือปาล์มน้ ามัน
                       โดยพื้นที่จังหวัดมุกดาหารมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกกระชายด าที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1)
                       10,976 ไร่ พบมากในอ าเภอหว้านใหญ่ อ าเภอดงหลวง อ าเภอเมืองมุกดาหาร และอ าเภอค าชะอี
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33