Page 29 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดมุกดาหาร
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               22








                       4. แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ

                         4.1  ข้าว

                             1) พื นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่ 11,435 ไร่
                       พบมากอยู่ในเขตอ าเภอเมืองมุกดาหาร อ าเภอดงหลวง อ าเภอนิคมค าสร้อย และอ าเภอค าชะอี ตามล าดับ
                       ซึ่งคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดิน เพื่อสงวนให้เป็นแหล่ง

                       ผลิตข้าวที่ส าคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ าชลประทาน การจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์ข้าว
                       โดยรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาดในและต่างประเทศการแปรรูป
                       แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการท ามาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
                       (Good Agricultural Practices: GAP) เนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง การปลูกพืชหลังนาจะช่วยให้

                       เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการปรับปรุงบ ารุงดิน ทั้งนี้ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับ
                       เกษตรกร โดยแนะน าว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวจึงไม่ควรปรับเปลี่ยนไป
                       ปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าวราคาไม่ดีถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชไร่ เพื่อที่ว่าในอนาคตจะได้
                       กลับมาท านาได้อีก


                             2) พื นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่
                       120,196 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอ าเภอเมืองมุกดาหาร อ าเภอดอนตาล และอ าเภอหนองสูง เป็นพื้นที่
                       ปลูกข้าวที่มีข้อจ ากัดไม่มากนัก เกษตรกรยังคงปลูกข้าวได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาขาดน้ าในบางช่วง
                       ของการเพาะปลูก ควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ า เช่น ชลประทาน จะสร้างความมั่นใจให้กับ
                       เกษตรกรในการใช้ที่ดิน ปัญหาการทิ้งถิ่นฐานไปท างานที่อื่นจะลดลง และพื้นที่ในเขตนี้มี

                       ความเหมาะสมส าหรับการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรแม่นย าหรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น
                       และภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกร โดยแนะน าว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น
                       หากข้าวราคาไม่ดี และหากต้องการปรับเปลี่ยนการผลิตควรเปลี่ยนเป็นพืชไร่ เพื่อในอนาคตยัง

                       สามารถกลับมาท านาได้อีก
                             3) พื นที่ปลูกข้าวที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้ที่ดิน

                       ปลูกข้าวอยู่ประมาณกว่า 3 แสนไร่ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ท ากิน
                       ในพื้นที่นี้เนื่องจากเป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบ ารุงดิน
                       สนับสนุนแหล่งน้ า ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า

                       หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม
                       (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น

                             4) พื นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมส าหรับการปลูกข้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้
                       ใช้พื้นที่ปลูกข้าว และเกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น มันส าปะหลัง ยางพารา ทั้งนี้ หากพืชที่
                       ปลูกเป็นพืชไร่ ซึ่งในอนาคตข้าวราคาดี เกษตรกรอาจกลับมาปลูกข้าวได้เหมือนเดิม แต่หากเป็นไม้ผล

                       หรือไม้ยืนต้น การกลับมาปลูกข้าวอาจเป็นเรื่องยาก ควรส่งเสริมในเรื่องของการท าเกษตรรูปแบบอื่น
                       เช่น ท าการเกษตรแบบผสมผสานทดแทนในพื้นที่ดังกล่าว
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34