Page 31 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดมุกดาหาร
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               24








                         4.3  ยางพารา

                             1) พื นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่ มีเนื้อ
                       ที่ 129 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอ าเภอดงหลวง อ าเภอค าชะอี อ าเภอหว้านใหญ่ อ าเภอเมือง
                       มุกดาหาร และอ าเภอนิคมค าสร้อย ตามล าดับ ซึ่งตามมาตรการยุทธศาสตร์ยางพารา ระยะ 20 ปี
                       (พ.ศ. 2560 - 2579) เน้นให้มีการเพิ่มผลผลิตยางพาราต่อไร่ต่อปี จากปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 224 กิโลกรัมต่อไร่

                       เป็น 360 กิโลกรัมต่อไร่ ภายในปี 2579 นั้น ควรมีการจัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
                               -  การคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และต้านทานโรค
                               -  การปรับปรุงบ ารุงดิน การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
                               -  การปลูกพืชแซมและพืชคลุมดินให้เหมาะสม เพราะมีผลต่อการเจริญเติบโตของยาง

                               -  การบ ารุงรักษา การใส่ปุ๋ยการตัดแต่งกิ่ง และเทคนิคการกรีดยางให้มีปริมาณน้ ายางสูง
                       มีคุณภาพและตรงตามมาตรฐาน
                               -  เน้นการพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ใน
                       พื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง

                               -  ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่มีความเข้มแข็ง มีการบริหารงานแบบมืออาชีพ
                       และสามารถถ่ายทอดกิจการให้กับคนรุ่นใหม่

                             2) พื นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่
                       มีเนื้อที่ 169,772 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอ าเภอเมืองมุกดาหาร อ าเภอดงหลวง และอ าเภอนิคมค าสร้อย

                       ตามล าดับ เกษตรกรยังคงปลูกยางพาราได้ผลดี จึงควรสนับสนุนให้เพิ่มผลผลิตยางพารา โดยเน้น
                       การจัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับพื้นที่เหมาะสมสูง โดยเฉพาะการปรับปรุงบ ารุงดิน
                       เน้นการพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ ที่มี
                       ความเหมาะสมปานกลางให้มากขึ้น ส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และ
                       ปลูกยางพาราทดแทนในพื้นที่เดิมเช่นกันกับพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง พัฒนาตลาดและช่องทางจัด

                       จ าหน่ายให้มากขึ้น โดยเน้นการแปรรูปยางหรือไม้ยางพาราเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจเน้นจากชุมชนที่
                       เข้มแข็งเป็นพื้นที่ต้นแบบ

                             3) พื นที่ปลูกยางพาราในพื นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร
                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกยางพาราอยู่ ทั้งนี้ควรส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และหา

                       พืชอื่นทดแทน เช่น ส่งเสริมให้ปลูกไม้ผล มะพร้าว ไผ่หวาน มันส าปะหลัง ยาสูบ แตงโม พืชไร่
                       และพืชผักต่าง ๆ ทดแทน ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
                       หรือใช้พื้นที่ผลิตพืชผักบริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม
                       (Zoning by Agri-Map)
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36