Page 30 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดมุกดาหาร
P. 30
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
23
4.2 อ้อยโรงงาน
1) พื นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกอ้อยโรงงานอยู่
มีเนื้อที่ 1,375 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอ าเภอหว้านใหญ่ อ าเภอดงหลวง อ าเภอนิคมค าสร้อย และ
อ าเภอเมืองมุกดาหาร ตามล าดับ ทั้งนี้ ตามแผนยุทธศาสตร์ของส านักงานคณะกรรมการอ้อยและ
น้ าตาลทราย พ.ศ. 2560 - 2564 มียุทธศาสตร์ ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัย การบริหารจัดการ และ
การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตอุตสาหกรรมอ้อยน้ าตาลทรายและอุตสาหกรรม เน้นให้มีการเพิ่ม
ผลผลิตอ้อยโรงงานในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง แต่เน้นการลดต้นทุนผลผลิต ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้
ปุ๋ยอินทรีย์แบบคุณภาพสูง มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยการรณรงค์ลดการเผาตอซัง เพื่อเพิ่มผลผลิต
และลดปัญหาภาวะโลกร้อน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคิดค้นเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยว โดยใช้เครื่องจักร
เพื่อลดปัญหาแรงงาน พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มและเข้าร่วมโครงการเกษตรแปลงใหญ่
จัดหาปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกร และอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรที่มีการปรับปรุงบ ารุงดิน
โดยลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมให้มีการปลูกอ้อยโรงงานที่มีสายพันธุ์ต้านทานโรค สร้างความตระหนัก
และความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรที่มีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง ในการปลูกอ้อยโรงงาน
เพื่อแก้ไขปัญหาการปรับเปลี่ยนพื้นที่
2) พื นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูก
อ้อยโรงงานอยู่ มีเนื้อที่ 233,403 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอ าเภอเมืองมุกดาหาร อ าเภอดอนตาล
และอ าเภอนิคมค าสร้อย ตามล าดับ เกษตรกรยังคงปลูกอ้อยโรงงานได้ผลดี จึงต้องพัฒนาศักยภาพ
ของพื้นที่ให้มากขึ้น ในเรื่องของคุณภาพดินและการบริหารจัดการน้ า ให้มีเพียงพอและเหมาะสม
ต่อการเพาะปลูก สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการจัดการพื้นที่ การปลูก การดูแลรักษา
และการเก็บเกี่ยว ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของเสียจากโรงงานน้ าตาล และการน าของเสียจากโรงงาน
น้ าตาลไปใช้ในการปรับปรุงบ ารุงดินในไร่อ้อย เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนให้แก่เกษตรกรชาวไร่
โดยไมมีผลเสียต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และชุมชนชาวไร่อ้อย
3) พื นที่ปลูกอ้อยโรงงานในพื นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร
ยังคงใช้ที่ดินปลูกอ้อยโรงงานอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ าซาก เช่น น้ าท่วม ขาดน้ า ผลผลิตต่ า
เป็นต้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้
ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตพืชผักบริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่
เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น รวมทั้งการจัดหาตลาดให้กับเกษตรกรในการปลูก
พืชผักทดแทน โดยอาจเริ่มจากตลาดชุมชน
4) พื นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมส าหรับการปลูกอ้อยโรงงาน แต่เกษตรกรหันมา
ปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ข้าว มันส าปะหลัง ปาล์มน้ ามัน โดยควรสร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกรใน
การบริหารจัดการพื้นที่ และการปรับปรุงบ ารุงดินไม่ให้เสื่อมโทรม หากเกษตรกรต้องการกลับมาใช้
พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานเหมือนเดิม จะได้ไม่ต้องมีต้นทุนการผลิตสูงในการปรับปรุงบ ารุงดิน