Page 36 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครพนม
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               30








                       (Good Agricultural Practices: GAP) และเนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง ควรส่งเสริมการปลูกพืช
                       หลังนาจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

                             2) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่มาก
                       ถึง 528,028 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภออำเภอโพนสวรรค์ อำเภอศรีสงคราม และอำเภอนาหว้า

                       ซึ่งบริเวณดังกล่าวปลูกข้าวที่มีข้อจำกัดไม่มากนัก เกษตรกรยังคงปลูกข้าวได้ผลดี หลายพื้นที่ประสบ

                       ปัญหาขาดน้ำในบางช่วงของการเพาะปลูก การสนับสนุนด้านการชลประทาน จะสร้างความมั่นใจ
                       ให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน ปัญหาการทิ้งถิ่นจะลดลง และพื้นที่ในเขตนี้มีความเหมาะสมสูง

                       สำหรับการเกษตรแบบผสมผสาน หรือเกษตรทฤษฎีใหม่
                             3) พื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) แต่ปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้ที่ดิน

                       ปลูกข้าวอยู่มากกว่าล้านไร่ ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ กระทรวงเกษตรและ

                       สหกรณ์ ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างดิน สนับสนุน
                       แหล่งน้ำให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่

                       เพื่อผลิตอาหารบริโภคในครัวเรือน

                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้
                       ใช้พื้นที่ปลูกข้าว โดยเกษตรกรใช้พื้นที่ดังกล่าวในการปลูกอ้อยโรงงาน เนื่องจากเกษตรกรเป็นสมาชิก

                       ชาวไร่อ้อยของโรงงานน้ำตาล และได้ทำข้อตกลงซื้อขายผลผลิต เกษตรกรจึงมีความมั่นใจมากกว่า
                       การปลูกข้าว แต่ในอนาคตเกษตรกรสามารถกลับมาปลูกข้าวหรือทำการเกษตรแบบผสมผสานได้


                         4.2  ยางพารา
                             1) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่มีเนื้อที่

                       259,710 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอเมืองนครพนม อำเภอเรณูนคร และอำเภอศรีสงคราม

                       ตามลำดับ ซึ่งมาตรการยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) เน้นให้มีการเพิ่ม
                       ผลผลิตยางพาราต่อไร่ต่อปี จากปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 224 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 360 กิโลกรัมต่อไร่ ภายในปี

                       2579 นั้น ควรมีการจัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
                                 -  การคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และต้านทานโรค

                                 - การปรับปรุงบำรุงดิน การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

                                 - การปลูกพืชแซมและพืชคลุมดินให้เหมาะสมเพราะมีผลต่อการเจริญเติบโต
                                 - การบำรุงรักษา การใส่ปุ๋ยการตัดแต่งกิ่ง และเทคนิคการกรีดยางพาราให้มี

                       ปริมาณน้ำยางสูงมีคุณภาพและตรงตามมาตรฐาน

                                 - เน้นการพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ใน
                       พื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41