Page 39 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครพนม
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               33








                                 - ส่งเสริมเกษตรกรแปรรูปมันสำปะหลังเบื้องต้นเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น การแปรรูป
                       มันเส้นสะอาด

                                 - ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวในช่วงอายุ และระยะเวลาที่เหมาะสม
                             3) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบัน

                       เกษตรกรยังคงใช้ที่ดินปลูกมันสำปะหลังอยู่ 91,418 ไร่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ำซาก เช่น

                       น้ำท่วม ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้
                       โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดินสนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มี

                       ความเหมาะสม ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า และใช้พื้นที่เพื่อผลิตอาหารบริโภคในครัวเรือน รวมถึง
                       การสนับสนุนข้อมูล ด้านการตลาดของพืชชนิดใหม่

                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกมันสำปะหลัง แต่ปัจจุบัน

                       เกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังโดยเกษตรกรใช้พื้นที่ดังกล่าวในการปลูกข้าวและอ้อยโรงงาน
                       ภาครัฐควรให้ความรู้แก่เกษตรกรและสร้างแรงจูงใจให้กลับมาปลูกมันสำปะหลัง เนื่องจากพื้นที่มี

                       ความเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนการผลิตและผลผลิตมีคุณภาพดี ทั้งนี้เกษตรกรต้องพิจารณา

                       แหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                         4.4  อ้อยโรงงาน

                             1) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกอ้อยโรงงาน
                       อยู่ มีเนื้อที่ 507 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอนาหว้า อำเภอท่าอุเทน และอำเภอนาทม ตามลำดับ

                       ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็น
                       แหล่งผลิตอ้อยโรงงานคุณภาพดีที่สำคัญของจังหวัด ควรมีการจัดการดินและปุ๋ย พันธุ์อ้อยโรงงาน

                       คุณภาพดีและต้านทานโรค โดยรวมกลุ่มเป็นระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่เพื่อลดต้นทุน

                       การผลิต พัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาดในและต่างประเทศพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวโดย
                       ใช้เครื่องจักร เพื่อลดปัญหาแรงงาน การแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการทำมาตรฐานสินค้า

                       เกษตรอินทรีย์ และ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP)
                             2) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกอ้อย

                       โรงงานอยู่มีเนื้อที่ 3,119 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอธาตุพนม อำเภอนาแก และอำเภอนาหว้า

                       เกษตรกรยังคงปลูกอ้อยโรงงานได้ผลดี หลายพื้นที่ประสบปัญหาขาดน้ำในบางช่วงของการเพาะปลูก
                       การสนับสนุนด้านการพัฒนาคุณภาพของที่ดินและระบบชลประทาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับ

                       เกษตรกรในการใช้ที่ดิน ซึ่งจะส่งผลให้ปัญหาการละทิ้งถิ่นฐานลดลง ควรส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดิน

                       ในไร่อ้อย เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต
                             3) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) แต่ปัจจุบันเกษตรกร

                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกอ้อยโรงงานอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ำซาก เช่น น้ำท่วม ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44