Page 32 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครพนม
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               26








                       3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด

                         3.1 ลิ้นจี่นครพนม (GI) หมายถึง ลิ้นจี่พันธุ์นพ.1 มีลักษณะเด่น คือ เปลือกสีแดงอมชมพูผล

                       ขนาดใหญ่ ทรงรูปไข่ เนื้อผลแห้ง สีขาวขุ่น รสชาติหวานอมเปรี้ยว ไม่มีรสฝาด เป็นพืชเกษตรที่มีพื้นที่
                       ปลูกที่ ตำบลขามเฒ่า อำเภอเมืองนครพนม ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา

                       กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2557 ให้เป็นพืชสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical

                       Indication: GI) ของจังหวัด ลิ้นจี่นครพนมต้องการดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงหรือปานกลาง
                       มีการระบายน้ำที่ดี จึงควรปลูกบนพื้นที่สูงพอสมควรเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ที่มาของแหล่งผลิตเฉพาะ

                       เจาะจงของท้องถิ่น บ่งบอกคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้าแสดงถึงศักยภาพดินและความเหมาะสม

                       ของสภาพอากาศ การออกดอกติดผลและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี จำหน่าย
                       ได้ราคาดีเหมาะสำหรับการส่งเสริมปลูกเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

                       ได้รายงานปริมาณการขายลิ้นจี่ของประเทศตลอดปีการผลิต พ.ศ. 2563 จำนวน 1,245 ตัน มีปริมาณ
                       การขายสูงสุดในเดือนเมษายน คิดเป็นร้อยละ 63.16 โดยปริมาณการขายลิ้นจี่จากผลผลิตจังหวัด

                       นครพนม มีจำนวน 907 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 72.85 ของปริมาณการขายจากผลผลิต

                       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.67 ของปริมาณ การขายลิ้นจี่จากผลผลิต
                       ทั่วประเทศ โดยพื้นที่ปลูกจังหวัดนครพนม 2,191 ไร่ ให้ผลผลิต 907 ตัน คิด เป็นสัดส่วนผลผลิต

                       530 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีการปลูกลิ้นจี่ในปีเดียวกัน คือ
                       เพชรบูรณ์ (415 กิโลกรัมต่อไร่) เลย (363 ตันต่อไร่) และหนองคาย (366 ตันต่อไร่)

                         3.2 สับปะรดท่าอุเทน (GI) คือ สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียปลูกในสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสม

                       ลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนตื้น ดินร่วนปนทราย ภูมิอากาศมีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ทำให้ผลผลิต
                       สับปะรดหวานฉ่ำแม้ไม่ต้องรดน้ำเพิ่ม การป้องกันผลผลิตไม่ให้ถูกแสงแดดจะทำให้ได้สับปะรดที่มี

                       เนื้อละเอียดแน่น สีเหลืองเข้ม ตาตื้น รสชาติหวานฉ่ำ กลิ่นหอม ไม่กัดลิ้น ไม่ระคายคอ แกนหวานกรอบ

                       รับประทานได้แตกต่างไปจากพันธุ์ดั้งเดิม ซึ่งปลูกในเขตพื้นที่อำเภอท่าอุเทนและอำเภอโพนสวรรค์
                       ของจังหวัดนครพนม ทั้งนี้ สับปะรดท่าอุเทนได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 เป็นเวลา 2 ปีติดต่อกัน

                       จากการประกวดสับปะรดระดับประเทศ จัดโดยกรมส่งเสริมการเกษตร เมื่อปี พ.ศ. 2548 และ 2549

                       รวมทั้ง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพืชเกษตรสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สับปะรดท่าอุเทน จาก
                       กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 59 ปัจจุบันสับปะรด

                       ท่าอุเทน ได้มีการพัฒนาพันธุ์จนมีคุณภาพดี ผู้บริโภคชื่นชอบรสชาติและคุณภาพของผลผลิต
                       เป็นที่ยอมรับของตลาดในทุกระดับ ได้รับการส่งเสริมเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่มีพื้นที่เหมาะสม

                       ในการปลูกที่อำเภอท่าอุเทนและอำเภอโพนสวรรค์ มีเกษตรกรสนใจปลูกสับปะรดหวานท่าอุเทน

                       เพิ่มมากขึ้น โดยเกษตรกรจะมีการเปลี่ยนพื้นที่จากการปลูกยางพาราที่มีราคาต่ำมาปลูกสับปะรด
                       และมีราคาจำหน่ายหน้าสวนที่สูงกว่า โดยเฉพาะแหล่งรับซื้อหน้าสวนจากจังหวัดข้างเคียง ได้แก่
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37