Page 34 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครพนม
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               28








                       เก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างต่อเนื่องจนถึงต้นฤดูฝน หลังเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวผลผลิตพริก จึงทำนา
                       ปลูกข้าวหมุนเวียนต่อไป เกิดรายได้หมุนเวียนต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก ข้อดีของการปลูกพริกหลัง

                       ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว คือลงทุนต่ำ พริกเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย มีความทนทานต่อสภาพอากาศร้อนในฤดูแล้ง
                       สามารถเก็บผลผลิตขายได้ตลอดปีจนเข้าสู่ฤดูฝน ผลผลิตไม่ล้นตลาดเนื่องจากมีตลาดรองรับแน่นอน

                       ราคาดีไม่ผันผวน ทำให้มีรายได้ตลอดฤดูแล้ง การปลูกพริกฤดูแล้งเพื่อสร้างรายได้เสริมช่วงระยะว่างเว้น

                       จากการทำนาปี จึงเป็นเกษตรกรรมทางเลือกในบางพื้นที่ที่ไม่สามารถทำนาปรังได้ เนื่องจากไม่มี
                       ระบบชลประทานเข้าถึง โดยไม่ต้องละทิ้งที่นาเพื่อไปทำงานต่างถิ่น


                         3.5 หน่อไม้ไร่ หน่อไม้เป็นพืชเกษตรที่ใช้ประกอบอาหารได้อย่างหลากหลาย บริโภคได้ทั้งสดและ
                       แปรรูปเป็นหน่อไม้ดอง เกษตรกรเก็บผลผลิตหน่อไม้วางขายพื้นที่บริเวณสี่แยกบ้านเสียวสงคราม

                       หนองเทา ตำบลหาดแพง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เพื่อเป็นรายได้เสริมภายหลังจากการ
                       ปักดำระหว่างรอข้าวตั้งท้อง หน่อไม้เหล่านี้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติในที่ดินสาธารณะประโยชน์ชุมชนที่มี

                       มากกว่าพันไร่ หน่อไม้ไร่ตามธรรมชาติจะเริ่มแทงหน่อโผล่ดินช่วงฤดูฝนในเดือนมิถุนายน และจะให้

                       ผลผลิตจำนวนมากในเดือนสิงหาคม จากนั้นจะลดปริมาณลงในช่วงออกพรรษาของทุกปี ในระยะที่
                       หน่อไม้ให้ผลผลิตเริ่มแรกความต้องการผู้บริโภคมีมาก ราคาหน่อไม้จะสูงแต่ปีใดที่หน่อไม้ออกเร็วและ

                       มากกว่าปกติ ราคาขายจะลดต่ำลง แต่ถึงแม้ผลผลิตออกมากก็ยังไม่พอกับความต้องการของผู้บริโภค

                       เพราะหน่อไม้ไร่ได้ชื่อว่าอร่อยที่สุด มีรสชาติหวาน ปราศจากสารเคมี เกษตรกรสามารถมีรายได้จาก
                       การขายหน่อไม้ ประมาณ 600-1,000 บาทต่อวัน


                         3.6 พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green
                       economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่งที่

                       ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสารสำคัญที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์
                       ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือกในปี 2564

                       โดยดำเนินการภายใต้ตลาดนำการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจะช่วย

                       ให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการดำรงชีพ จากฐานข้อมูล Agri-Map
                       Online จังหวัดนครพนมมีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกพืชสมุนไพรได้หลายชนิด เช่น

                       กระชายดำ บัวบก ขมิ้นชัน และไพล เป็นต้น
                         (1) กระชายดำ เป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เป็นพืชที่ชอบที่ร่ม ดินร่วนซุยหรือ เป็น

                       ดินปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี ชอบอากาศหนาวเย็น และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแบ่งเหง้า สามารถ

                       ขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี แต่ถ้าต้องการให้หัวหรือเหง้ามีคุณภาพต้องปลูกและเก็บเกี่ยวตามฤดูกาล คือ
                       ปลูกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม

                       จากการค้นคว้าเอกสารงานวิจัยพบว่าสมุนไพรไทยกระชายดำ มีสรรพคุณมากมาย และสามารถช่วย
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39