Page 31 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครพนม
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               25








                       ตารางที่ 10  พื้นที่มีศักยภาพในการขยายการผลิตอ้อยโรงงาน

                                                   ข้าว (ไร่)                     มันสำปะหลัง (ไร่)
                           อำเภอ
                                         S3          N          รวม         S3          N         รวม

                       ท่าอุเทน          33,272      1,033      34,304      2,402          -       2,402
                       ธาตุพนม           40,439          -      40,439      1,829          -       1,829
                       นาแก              12,464      5,856      18,319        608          -         608

                       นาทม               5,300        73        5,374      1,274          -       1,274
                       นาหว้า            16,257      1,177      17,434        668          -         668
                       บ้านแพง            7,426          -       7,426        528          -         528

                       ปลาปาก             6,447          -       6,447         54          -          54
                       โพนสวรรค์          7,865          -       7,865      1,091          -       1,091
                       เมืองนครพนม       48,291       611       48,902      1,051          -       1,051

                       เรณูนคร           37,356          -      37,356         43          -          43
                       วังยาง              441         36         477           -          -           -

                       ศรีสงคราม         23,588      2,510      26,098      1,980          -       1,980
                            รวม        239,145      11296      250,441     11,528          -      11,528


                             4) แนวทางการจัดการ
                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้

                       เกษตรกรปลูกอ้อยโรงงานต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและ

                       ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกอ้อยโรงงานในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอด
                       โครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ

                       เป็นต้น

                                 พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน
                       ในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกอ้อยโรงงาน ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกอ้อยโรงงาน

                       ที่สำคัญของจังหวัด โดยกระจายอยู่ในอำเภอนาหว้า อำเภอท่าอุเทน และอำเภอนาทม เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูก

                       อ้อยโรงงาน ในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกอ้อยโรงงาน เช่น ความอุดมสมบูรณ์

                       ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง ความชื้น โดยกระจายอยู่ในอำเภอธาตุพนม อำเภอนาแก และ
                       อำเภอเมืองนครพนม

                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
                       เข้าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกอ้อยโรงงาน

                       มีต้นทุนที่ต่ำและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36