Page 33 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครพนม
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               27








                       มุกดาหาร อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และยโสธร จึงนับว่าสับปะรดท่าอุเทนเป็นพืชเศรษฐกิจที่ช่วย
                       สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่เป็นจำนวนมากในแต่ละปี กรมส่งเสริมการเกษตรจัดกิจกรรม

                       เพื่อส่งเสริมความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกสับปะรดท่าอุเทนในด้านของการผลิตสับปะรดที่มี
                       คุณภาพไม่ว่าจะเป็นการผลิตสับปะรดท่าอุเทนในฤดูและนอกฤดูให้มีความปลอดภัยและได้มาตรฐาน

                       ในทุกขั้นตอนของการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันด้านการตลาดมากขึ้นอีกทั้งยังช่วยลด

                       ปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำจากพ่อค้าคนกลางในช่วงที่ผลผลิตมีจำนวนมากได้ ทำให้
                       เกษตรกรสามารถบริหารจัดการกระบวนการผลิต และผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการให้

                       คำแนะนำในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตสับปะรดให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการ
                       ของตลาดและผู้บริโภคยิ่งขึ้น


                         3.3 แตงโมไร้เมล็ด มีการทดลองปลูกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 โดยเกษตรกรพื้นที่อำเภอ
                       ศรีสงคราม จึงเป็นแหล่งปลูกแตงโมไร้เมล็ดมากที่สุด มีการพัฒนาสายพันธุ์ การผลิต และการตลาด

                       เรื่อยมา ปัจจุบันได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค ทั้งด้านรสชาติหวานอร่อย มีการควบคุมคุณภาพ

                       ความปลอดภัยตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice: GAP) ที่
                       สามารถควบคุมความหวานได้ โดยช่วงการปลูกแตงโมที่มีรสชาติหวานที่สุด คือระหว่างเดือน

                       พฤศจิกายนและเดือนมกราคมของทุกปี แนวโน้มในการผลิตและจำหน่ายไปในทิศทางที่ดี เป็น

                       สินค้าระดับโอท็อป (OTOP) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เกษตรกรแตงโมมีการรวมกลุ่มจัดตั้ง
                       วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกแตงโมไร้เมล็ดศรีสงคราม ทำเกษตรแบบแปลงใหญ่ให้ผลผลิตมากที่สุดของ

                       ประเทศประมาณ 2,000 ตัน มูลค่าสูงกว่า 250 ล้านบาทต่อปี มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็น
                       เครื่องมือในการผลิตและการตลาด รวมทั้ง เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในด้านต่าง ๆ

                       เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจด้านการตลาดสามารถวางแผนการปลูกให้มีผลผลิตจำหน่ายได้

                       ตลอดทั้งปี (ยกเว้นในช่วงฤดูฝนที่ทำให้ไม่คุ้มกับการลงทุน) มีการคัดเกรดคุณภาพการผลิตให้ได้
                       มาตรฐานลดความเสี่ยงจากปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ทำให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนา

                       สินค้า ตั้งแต่ระดับต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพ ผลผลิต ลดต้นทุน ยกระดับมาตรฐานของ
                       สินค้าได้อย่างครบวงจรการผลิต สามารถพัฒนาไปสู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามที่ตลาด

                       ต้องการ กล่าวคือผู้ผลิตมีแหล่งจำหน่ายสินค้าที่แน่นอนเกษตรกรมีความมั่นคงด้านรายได้เพิ่มขึ้น

                       ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ

                         3.4 พริก เป็นพืชผักสวนครัวชนิดหนึ่งที่ใช้ประกอบการปรุงเพิ่มรสชาติอาหาร นิยมปลูกเพื่อ

                       บริโภคและจำหน่ายเพิ่มรายได้ตั้งแต่ระดับครัวเรือน ระดับประเทศ และส่งขายต่างประเทศ เป็นพืช
                       อายุสั้น ใช้น้ำน้อย เกษตรกรหลายพื้นที่ของจังหวัดนครพนม นิยมปลูกในฤดูแล้งเพื่อเพิ่มผลผลิตและ

                       รายได้หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวนาปี โดยเฉพาะหมู่บ้านสร้างแป้น ตำบลโพนทอง อำเภอเรณูนคร

                       ถือเป็นพื้นที่ตัวอย่างที่ทำการปรับแปลงนาข้าวไถกลบตอซังข้าวใส่ปุ๋ยและตีแปลงปลูกพริก สามารถ
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38