Page 27 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครพนม
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               21








                         2.4  อ้อยโรงงาน
                             อ้อยโรงงานเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของนครพนมในลำดับที่ 4 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตร

                       เชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 9 และภาพที่ 12 - 13)
                             1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน

                               ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 422,138 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 13.08

                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอำเภอเมืองนครพนม 89,788 ไร่ อำเภอท่าอุเทน 82,220 ไร่
                       และอำเภอเรณูนคร 65,057 ไร่

                               ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 453,601 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       14.06 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอำเภอศรีสงคราม 120,376 ไร่ อำเภอธาตุพนม 67,293 ไร่

                       และอำเภอท่าอุเทน 63,457 ไร่

                               ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 1,465,821 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       45.42 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากในอำเภอโพนสวรรค์ 179,991 ไร่ อำเภอปลาปาก 157,336 ไร่

                       และอำเภอเมืองนครพนม 144,952 ไร่

                               ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 885,742 ไร่
                             2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของดิน

                       ได้ดังนี้
                               (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 507 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของพื้นที่ศักยภาพสูง

                       พบมากในอำเภอนาหว้า 295 ไร่ อำเภอท่าอุเทน 94 ไร่ และอำเภอนาทม 45 ไร่

                               (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 3,119 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.69 ของพื้นที่
                       ศักยภาพปานกลาง พบมากในอำเภอธาตุพนม 1,554 ไร่ อำเภอนาแก 1,050 ไร่ และอำเภอ

                       เมืองนครพรม 75 ไร่
                               (3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 3,047 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.21 ของพื้นที่

                       ศักยภาพเล็กน้อย พบมากในอำเภอปลาปาก 1,303 ไร่ อำเภอวังยาง 561 ไร่ และอำเภอโพนสวรรค์

                       508 ไร่
                             3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกอ้อยโรงงาน แต่ไม่ใช้พื้นที่

                       ปลูกอ้อยโรงงาน พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกอ้อยโรงงาน และพื้นที่ปลูกอ้อย

                       โรงงานในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดนครพนมมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือใน
                       ระดับความเหมาะสมสูง (S1) และความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 872,113 ไร่ โดยกระจาย

                       อยู่ทั่วทุกอำเภอ โดยอำเภอที่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่ อำเภอท่าอุเทน 145,442 ไร่

                       รองลงมา ได้แก่ อำเภอเมืองนครพนม 141,357 ไร่ และอำเภอธาตุพนม 104,363 ไร่ โดยมี
                       รายละเอียดดังนี้
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32