Page 30 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดแม่ฮ่องสอน
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               23








                              4) พื้นที่ที่มีศักยภาพ หรือมีความเหมาะสมสําหรับการปลูกขาวโพดเลี้ยงสัตว แตเกษตรกร
                       หันมาปลูกพืชอื่นทดแทน เชน ขาว ลําไย ยางพารา ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเปนพืชไร ในอนาคตสามารถ
                       กลับมาปลูกขาวโพดเลี้ยงสัตวไดอีก แตหากเปนไมผลและไมยืนตน อาจเปนเรื่องยาก โดยเฉพาะการ

                       ปลูกไมผล เชน ทุเรียน ที่ปจจุบันราคาดี แตทั้งนี้ตองพิจารณาตนทุนการผลิตรวมดวย ภาครัฐควร
                       ประชาสัมพันธและสรางมาตรการจูงใจใหเกษตรกรกลับมาปลูกขาวโพดเลี้ยงสัตวในพื้นที่นี้ แตทั้งนี้

                       ตองพิจารณาลักษณะทางการตลาดรวมดวย

                         4.3  ลําไย
                              1) พื้นที่ปลูกลําไยที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปจจุบันยังปลูกลําไยอยู มีเนื้อที่ 75 ไร

                       มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอําเภอแมสะเรียง และอําเภอแมลานอย ตามลําดับ ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการ
                       พัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรใหมีการเสนอแผนการใชที่ดินเพื่อสงวนใหเปนพื้นที่ปลูกลําไยที่สําคัญของ

                       จังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ําอยางดี รวมทั้งการจัดการดินและปุยตามมาตรฐาน สงเสริมใหมี
                       การใชปุยใหเหมาะสมกับสภาพพื้นที่  สนับสนุนการรวมกลุมเปนเกษตรแปลงใหญ สรางเครือขายใน

                       รูปแบบของสหกรณ/กลุมเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชน กับโรงงานแปรรูปลําไย หรือพอคาที่รับซื้อลําไย
                       เพื่อการสงออก ปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตสูการผลิตผลไมครบวงจร เชน บริหารจัดการผลผลิตแบบ
                       ปองกันความเสี่ยงโดยใชการตลาดนําการผลิตเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาใหเกษตรกรเพาะปลูก

                       ตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) เนนการถายทอดองคความรูและ
                       เทคโนโลยีการพัฒนาคุณภาพลําไยทั้งในและนอกฤดู ใหสอดคลองตามฤดูกาล การผลิตผลไมคุณภาพตาม

                       แหลงกําเนิดภูมิศาสตร (GI) และไมผลอัตลักษณของจังหวัด
                              2) พื้นที่ปลูกลําไยที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปจจุบันยังปลูกลําไยอยู มีเนื้อที่

                       767 ไร สวนใหญอยูในเขตอําเภอแมสะเรียง อําเภอปาย และอําเภอสบเมย เกษตรกรยังคงปลูกลําไย
                       ไดผลดี เนื่องจากเปนไมผล ซึ่งบางชวงมีความตองการการใชน้ําในปริมาณที่มาก ควรสนับสนุนดาน

                       การบริหารจัดการน้ํา เชน ชลประทาน แหลงน้ําในไรนานอกเขตชลประทาน ใชปจจัยการผลิตในอัตรา
                       และชวงเวลาที่เหมาะสม จะสรางความมั่นใจใหกับเกษตรกรผูปลูกลําไย ภาครัฐควรใหความรูความเขาใจ
                       กับเกษตรกรโดยแนะนําวาไมควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หรือถาตองการเปลี่ยนชนิดพืชควร

                       เปนพืชที่มีผลตอบแทนดีกวาและใชตนทุนต่ํากวา
                              3) พื้นที่ปลูกลําไยในพื้นที่ไมมีความเหมาะสม (S3 และ N) และปจจุบันเกษตรกรยังคงใช

                       ที่ดินปลูกลําไยอยู พื้นที่ดังกลาวประสบปญหาซ้ําซาก เชน น้ําทวม ขาดน้ํา ผลผลิตต่ํา ดังนั้นควรให
                       การชวยเหลือเกษตรกรที่ทํากินในพื้นที่นี้ เนื่องจากเปนพื้นที่ไมเหมาะสม โดยสนับสนุนการปรับ

                       โครงสรางที่ดิน ปรับปรุงบํารุงดิน สนับสนุนแหลงน้ํา ประชาสัมพันธ ใหความรูแนวทางการบริหาร
                       จัดการใหแกเกษตรกร ในกรณีที่ลําไยถึงอายุตองโคนทิ้ง ทั้งนี้เกษตรกรสามารถเลือกปลูกพืชชนิดใหม

                       ที่มีความเหมาะสมและใหผลตอบแทนที่ดีกวา หรือใชพื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเขา
                       โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เปนตน
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35