Page 29 - การศึกษาศักยภาพและการจัดการดินในพื้นที่ดินเค็มเพื่อการผลิตพืชสมุนไพรประจำท้องถิ่นไปสู่การรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พี จี เอส กรณีศึกษาในพื้นที่ดินเค็มของจังหวัดนครราชสีมา Study of Soil quality and management of Saline Soil for local Herb production to Participatory Guarantee Systems (PGS) , Case study in Nakhon Ratchasima province.
P. 29
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
29
2.2 สมบัติทางเคมีของดินหลังทำการทดลอง
จากผลการทดลอง ผลวิเคราะห์ดินหลังทำการทดลอง ได้แก่ ระดับความเค็มของดิน ค่าความเป็นกรด-
ด่างของดิน ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ แตกต่างอย่างมี
นัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยตำรับทดลองที่ 5 ใส่ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ ช่วยลด
ระดับความเค็มของดินและค่าความเป็นกรด-ด่างของดินมากกว่าทุกตำรับทดลอง เท่ากับ 0.81 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร
และ pH มีค่า 7.6 ในขณะที่สามารถช่วยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียม
ที่แลกเปลี่ยนได้มากที่สุดเท่ากับ 0.51 เปอร์เซ็นต์ , 24 มิลิลกรัมต่อกิโลกรัม และ 39 มิลิลกรัมต่อกิโลกรัม
ตามลำดับ ดังแสดงในตารางที่ 4
ตารางที่ 4 แสดงสมบัติทางเคมีของดินหลังทำการทดลอง
ตำรับทดลอง EC pH OM P K
(dS/m) H2O (%) (Bray II; (NH4OAc;
(1:5) (1:1) mg/kg) mg/kg)
1. ไม่ใส่ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ 1.14a 8.5a 0.21c 8c 17d
พด.1
2. ใส่ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 1.07b 8.2ab 0.25bc 12bc 24cd
อัตรา 500 กก./ไร่
3. ใส่ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 1.00c 8.0b 0.28b 14bc 29bc
อัตรา 1,000 กก./ไร่
4. ใส่ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 0.87d 7.8bc 0.46a 18ab 35ab
อัตรา 1,500 กก./ไร่
5. ใส่ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 0.81e 7.6c 0.51a 24a 39a
อัตรา 2,000 กก./ไร่
F-test ** ** ** ** **
C.V.(%) 2.65 2.37 5.79 6.50 6.42
2. พืชสมุนไพรท้องถิ่น รากสามสิบ
2.1 การเจริญเติบโตที่อายุ 30 วัน 60 วัน และ 90 วัน
จากผลการทดลอง พบว่า รากสามสิบมีการเจริญเติบโต ด้านความสูงและความกว้างทรงพุ่ม ที่อายุ 30 วัน
60 วัน และ 90 วัน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยตำรับทดลองที่ 5 ใส่ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1
อัตรา 2,000 กก./ไร่ ให้ค่าเฉลี่ยความสูงมากที่สุด ที่อายุ 30 วัน 60 วัน และ 90 วัน เท่ากับ 74.93 , 90.90 และ
95.50 เซนติเมตร ตามลำดับ และให้ค่าเฉลี่ยความกว้างทรงพุ่มมากที่สุดเท่ากับ 75.70 , 97.17 และ 105.63
เซนติเมตร ตามลำดับ ในขณะที่ตำรับทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 อัตรา 2,000 กก./ไร่ ให้
ค่าเฉลี่ยความสูงน้อยที่สุด ที่อายุ 30 วัน 60 วัน และ 90 วัน เท่ากับ 25.63 , 29.27 และ 31.27 เซนติเมตร
ตามลำดับ และให้ค่าเฉลี่ยความกว้างทรงพุ่มน้อยที่สุดเท่ากับ 21.93 , 25.27 และ 26.23 เซนติเมตร ตามลำดับ ดัง
แสดงในตารางที่ 5 , ตารางที่ 6 และตารางที่ 7