Page 14 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วนปนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด Study efficiency of Bio- fertilizer to increase growth and rice (Khao Dok Mali 105) yield and sandy loam soil, Roi Et Province.
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                         2. แผนผังแปลงย่อย
                           ด าเนินการจัดท าแปลงทดลองย่อย จ านวน 24 แปลง (8 ต ารับ 3 ซ้ า) โดยแปลงทดลองย่อย มีขนาดกว้าง

                   4  เมตร ยาว 6 เมตร
                         3. ขั้นตอนการด าเนินงาน
                            1) ส ารวจและคัดเลือกพื้นที่นาข้าวของเกษตรกร : นางละมัย ด าข า บ้านเลขที่ 855 หมู่ที่  20 ต าบลสระคู
                   อ าเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พิกัดแปลง 373294E และ 1730624N เพื่อด าเนินการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105
                   ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ อยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 40 ชุดดินโนนแดงที่มีศิลาแลงอ่อน (Ndg-pic-lsB)  โดยแบ่งพื้นที่
                   ออกเป็น 24 แปลงย่อย แต่ละแปลงย่อยมีขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร ระยะปลูก 25 x 25 เซนติเมตร เว้นระยะ
                   ระหว่างซ้ า 1.50 เมตร เว้นระยะระหว่างแปลง ด้วยการปั้นคันนาให้กว้าง 50 เซนติเมตร สูง 50  เซนติเมตร และเว้น
                   ระยะหัวท้ายแปลง 2 เมตร โดยใช้พื้นที่ด าเนินการทดลองประมาณ 0.5 ไร่
                   2) ท าการไถเตรียมดินแปลงกล้าที่เตรียมไว้บนแปลงให้สม่ าเสมอทั้งสอง แปลง ปรับระดับผิวดิน แล้วหว่านเมล็ดข้าว
                   ที่เตรียมไว้บนแปลงให้สม่ าเสมอ แบ่งแปลงกล้าที่ใส่เชื้อราเอนโดไฟต์ (P11) รูปแบบผงละลายน้ า โดยฉีดพ่นเชื้อลง

                   บนแปลงกล้า เมื่อต้นกล้ามีอายุได้ 7-10 วันหลังหว่าน และแปลงกล้าที่ไม่ใส่เชื้อ จากนั้นไถเตรียมดิน ปั่นย่อยดิน วัด
                   ขนาดแปลงย่อย กว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร จ านวน 24 แปลงย่อย
                           3) ปักด าข้าวเมื่อกล้าข้าวมีอายุได้ 30 วันหลังหว่าน โดยใช้ระยะห่าง 25 x 25 เซนติเมตร จ านวน 3 ต้น
                   ต่อจับโดยใช้กล้าข้าวแปลงที่ 1 ส าหรับปักด าในต ารับการทดลองที่ 1 และ 2 ไม่ใส่เชื้อราเอนโดไฟต์ (P11) และกล้า
                   ข้าวแปลงที่ 2 ส าหรับปักด าในต ารับการทดลองที่ 3-8 ใส่เชื้อราเอนโดไฟต์ (P11)
                           4) สุ่มต ารับการทดลอง จ านวน 8 ต ารับ 3 ซ้ า ลงในแปลงย่อย 24 แปลง ในแต่ละแปลงย่อยให้ด าเนินการ
                   ใส่ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพฯ มีรายละเอียดดังนี้

                           T1 = ควบคุม (ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีและผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพส าหรับนาข้าว)
                           T2 = ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน (9-3-6 กก.N- P O -K O ต่อไร่)
                                                                  2 5 2
                           T3 = ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพฯ ส าหรับนาข้าวรูปแบบน้ า
                           T4 = ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพฯ ส าหรับนาข้าวรูปแบบน้ า+ปุ๋ยเคมี 50 % ตามค่าวิเคราะห์ดิน
                           T5 = ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพฯ ส าหรับนาข้าวรูปแบบน้ า+ปุ๋ยเคมี 70 % ตามค่าวิเคราะห์ดิน
                           T6 = ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพฯ ส าหรับนาข้าวรูปแบบผงแห้งละลายน้ า
                           T7 = ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพฯ ส าหรับนาข้าวรูปแบบผงแห้งละลายน้ า+ปุ๋ยเคมี 50 % ตามค่าวิเคราะห์ดิน
                           T8 = ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพฯ ส าหรับนาข้าวรูปแบบผงแห้งละลายน้ า+ปุ๋ยเคมี 70 % ตามค่าวิเคราะห์ดิน
                   หมายเหตุ - ต ารับที่ 3-5  ใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพ ประกอบด้วย เชื้อแบคทีเรียตรึงไนโตรเจน (Azospirillium  sp.

                   (42)) และแบคทีเรียละลายซิลิเกต (Bacillus megaterium (CP 31/1)) รูปแบบน้ า
                           - ต ารับที่ 6-8 ใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพ ประกอบด้วย เชื้อแบคทีเรียตรึงไนโตรเจน (Azospirillium  sp.
                   (42)) และแบคทีเรียละลายซิลิเกต (Bacillus megaterium (CP 31/1)) รูปแบบผงแห้งละลายน้ า
                           5) ดูแลรักษาและก าจัดวัชพืชภายในแปลงย่อย และภาพรวมของแปลงทดลองให้เรียบร้อย

                         4. การเก็บข้อมูล
                            1) ข้อมูลดิน : เก็บตัวอย่างดิน ที่ระดับ 0-15 เซนติเมตร โดยเก็บก่อนด าเนินการทดลอง และหลังจากเก็บ
                   เกี่ยวผลผลิต ใช้วิธีการเก็บตัวอย่างแบบ (Composite  sample)  ซึ่งในการเก็บตัวอย่างดินครั้งที่ 1  ท าการสุ่มเก็บ
                   ตัวอย่างดินกระจายให้ทั่วทั้งพื้นที่ทั้งแปลงวิจัยโดยรวม จ านวน 1 ตัวอย่าง เก็บดิน 5 จุด ซึ่งในแต่ละจุดใช้จอบขุดดิน
                   เป็นหลุมรูปลิ่มลึกประมาณ 0-20 เซนติเมตร ใช้เสียมแซะดินด้านหนึ่งของหลุมให้ได้ดินเป็นแผ่นหนา 2-3 เซนติเมตร
                   ลึกประมาณ 20 เซนติเมตร จากนั้นน าตัวอย่างดินทั้ง 5 จุดมาคลุกเคล้ารวมกันเป็น 1 ตัวอย่างดิน เก็บตัวอย่างดิน
                   หนักประมาณ 0.5 กิโลกรัม ใส่ถุงพลาสติกใสที่สะอาด รัดปากถุงให้แน่นด้วยยางและติดสลากในแต่ละตัวอย่างให้

                   ถูกต้องชัดเจน จ านวน 24 ตัวอย่างดิน ครั้งที่ 2 ท าการสุ่มเก็บตัวอย่างดินกระจายให้ทั่วทุกแปลงย่อย เก็บดินภายใน
                   1 แปลงย่อย จ านวน 5 จุด มาคลุกเคล้ารวมกันเป็น 1 ตัวอย่างดิน ทั้งหมด 24 ตัวอย่างดิน (24 แปลงย่อย) เพื่อน าไป
                   วิเคราะห์หาสมบัติทางเคมีดิน ได้แก่ ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ปริมาณเปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุ (%OM) ปริมาณธาตุ
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19