Page 11 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วนปนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด Study efficiency of Bio- fertilizer to increase growth and rice (Khao Dok Mali 105) yield and sandy loam soil, Roi Et Province.
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                   โดยซิลิเกตเป็นองค์ประกอบที่พบอยู่บนเปลือกโลกมากที่สุดประมาณร้อยละ 96 โดยน้ าหนัก ซึ่งแบคทีเรียละลาย
                   ซิลิเกต (silicate  solubilizing  bacteria) (Bacillus  megaterium) สามารถผลิตกรดอินทรีย์ออกมาละลายธาตุ

                   ดังกล่าวให้อยู่ในรูปซิลิคอนที่พืชน าไปใช้ประโยชน์ได้ (Welch  and  Ulman,  1992)  เมื่อใช้จุลินทรีย์รวมกับวัสดุ
                   อินทรีย์ เช่น ขี้เถ้าในการปลูกข้าว  ท าให้เพิ่มการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว นอกจากนี้ยังมีเชื้อราเอนโดไฟต์
                   (Purpureocillium  lilacinum) ที่สามารถอาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อพืชและให้ประโยชน์ต่อพืชที่ให้อาศัย โดยไม่ท า
                   อันตรายหรือก่อให้เกิดโรคแก่พืช (Reinhold-Hurek and Hurek, 1998) สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันของพืชในระบบ
                   induced  systemic  resistance  /ISR  ซึ่งจะกระตุ้นการสร้าง  salicylic  acid  และ  jasmonic  acid  ช่วยให้พืช
                   สามารถต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชได้ ดังนั้นการน าจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ส าหรับข้าวดังกล่าว มารวมเป็น
                   ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพที่มีรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการน าไปใช้ส าหรับการปลูกข้าว จะเป็นประโยชน์อย่าง
                   ยิ่งในการส่งเสริมการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิตข้าว ลดต้นทุนการผลิต และลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรอีกด้วย
                         ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวเจ้านาน้ าฝนและไวต่อช่วงแสง
                   เพื่อทดแทนการปลูกข้าวเหนียว เพื่อตอบสนองการบริโภคของประชาชนมากขึ้น โดยเริ่มในปี 2522 ซึ่งมีการน าเอา

                   ข้าวจ้าวพันธุ์ดังกล่าวนี้มาทดลองปลูกในพื้นที่ พบว่า ได้ผลดีทั้งคุณภาพเมล็ดและมีกลิ่นหอม ประกอบกับมีราคา
                   ค่อนข้างดีกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ จึงเป็นเหตุจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 หรือชาวบ้านนิยมเรียกว่า
                   ข้าวหอมมะลิ ส าหรับบริโภคและจ าหน่ายเพื่อการค้ามากขึ้น ข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง
                   มีความสูงประมาณ 140-150  เซนติเมตร ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8  สัปดาห์ ออกดอกประมาณวันที่ 20
                   ตุลาคม และสุกแก่เก็บเกี่ยวได้ประมาณวันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปี แหล่งปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่ส าคัญ
                   ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และยโสธร
                   (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2542) ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ า เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายที่มี

                   ความอุดมสมบูรณ์ต่ า จึงมีความสามารถในการดูดยึดธาตุอาหารประจุบวกต่ า หากสามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์
                   ของดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ จะสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ ส่วนความหอมของข้าวพันธุ์นี้มี
                   ความสัมพันธ์กับชุดดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุดดินร้อยเอ็ด กุลาร้องไห้ ท่าตูม และนครพนม จะให้ความหอมของข้าว
                   สูงกว่าชุดดินอื่น ๆ
                         กลุ่มชุดดินที่ 40 ดินคล้ายชุดดินโนนแดงที่มีศิลาแลงอ่อน (Ndg-pic-lsB) การก าเนิด เกิดจาการพัดพามาทับ
                   ถมจากหินตะกอนเนื้อหยาบ มีการจ าแนกดิน coarse-loamy  siliceous semiactive  isohyperthermic  Aquic
                   (plinthic) Haplustalfs มีเนื้อดินเป็นพวกดินทรายปนดินร่วน ดินสีเทาหรือเทาปนน้ าตาล พบสีจุดประสีน้ าตาลแก
                   หรือสีเหลืองปนแดง มีความลาดชัน 0 – 2 % เป็นดินลึก การระบายน้ าดีปานกลางถึงค่อนข้างเลว พบก้อนเหล็กสะสม
                   ในดินล่าง มีชั้นศิลาแลงอ่อนที่ความลึก 1 เมตร ได้รับอิทธิพลจากดินเค็มที่พบใกล้เคียง   มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า

                   ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย (pH  5.5-6.5)  ในดินบน และเป็นกรดจัดมากในดินล่าง (pH  4.-5.5) การ
                   ระบายน้ า ดีปานกลางถึงค่อนข้างเลว การไหลบ่าของน้ าบนผิวดิน และการซึมผ่านได้ของน้ า ปานกลาง พืชที่แนะน าให้
                   ปลูก ได้แก่ ถั่วต่างๆ พืชไร่ เช่น ข้าวไร่ ข้าวฟ่าง มันส าปะหลัง อ้อย ขนุน ไผ่ตง กล้วย หม่อน และหญ้าเลี้ยงสัตว์
                   ส าหรับบริเวณที่ลาดชัน เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน จึงแนะน าให้ปลูกหญ้าแฝก ระยะระหว่างแนวแฝก
                   ประมาณ 40-60  เมตร โดยไถพรวนและปลูกพืชขวางความลาดเท ข้อจ ากัดการใช้ประโยชน์ ความอุดมสมบูรณ์ต่ า
                   สมบัติทางกายภาพไม่ดี ในฤดูแล้งดินจะแห้งจัด เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ าส าหรับพืชในฤดูการเพาะปลูก ควรใช้ปุ๋ย
                   คอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีใส่เป็นจ านวนมากต่อไร่เพื่อปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ และทางเคมีของดินให้ดีขึ้น ควร
                   ท าทางระบายน้ าออกจากพื้นที่ หากใช้ปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น และจัดหาแหล่งน้ าให้พอเพียงกับความต้องการของ

                   พืช (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548; ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2548; ส านักส ารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน,
                   2557)
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16