Page 10 - การศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพสำหรับนาข้าวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วนปนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด Study efficiency of Bio- fertilizer to increase growth and rice (Khao Dok Mali 105) yield and sandy loam soil, Roi Et Province.
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                                                       หลักการและเหตุผล

                         ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ซึ่งมีเนื้อที่ใช้
                   ประโยชน์ทางการเกษตร ปี 2558 ประมาณ 149 ล้านไร่ โดยท านาข้าวเป็นหลัก มีเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปี 58 ล้าน
                   ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 441 กิโลกรัมต่อไร่ นาปรัง 8.4 ล้านไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 636 กิโลกรัมต่อไร่ แม้ว่าเนื้อที่เพาะปลูก

                   ข้าวส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 60.6 ของเนื้อที่เพาะปลูกข้าวทั้งประเทศอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ข้าวนาปีในภาค
                   ตะวันออกเฉียงเหนือกลับให้ผลผลิตเฉลี่ยต่ าเพียง 358 กิโลกรัมต่อไร่ (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2561) นับว่า
                   อยู่ในเกณฑ์ต่ า  เมื่อเทียบกับประเทศผู้ผลิตข้าวคู่แข่งรายส าคัญในทวีปเอเชีย โดยปัจจัยในการเพิ่มผลผลิตข้าวที่
                   เกษตรกรใช้ คือ ปุ๋ยเคมี จึงท าให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มมากขึ้น เพื่อการเร่งการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิต ถึงแม้ใน
                   ปัจจุบันเกษตรกรจะมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้น โดยใช้ปุ๋ยตามค าแนะน าของนักวิชาการเกษตร ท า
                   ให้มีการใช้ปุ๋ยลดลง แต่เนื่องจากราคาต่อหน่วยของปุ๋ยเคมีในปัจจุบันสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกร
                   สูงขึ้นเรื่อยๆ

                         ในระบบนิเวศวิทยานาข้าวมีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์อาศัยอยู่จ านวนมากและหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งที่อยู่ใน
                   ดินและส่วนต่างๆ ของพืชทั้งใบ ล าต้น และราก มีทั้งชนิดที่อาศัยอยู่ในดินรอบผนังเซลล์พืช ภายในเซลล์พืช หรือ
                   แม้กระทั่งภายในท่อน้ าท่ออาหารพืช โดยส่วนใหญ่จะอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน โดยมีหลายสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูง
                   ในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ ละลายซิลิเกตในดิน และสร้างสารเสริมการเจริญเติบโตที่เป็นประโยชน์แก่พืช เช่น
                   Pseudomonas sp. Burkholderia sp. และ Azorhizobium sp. เป็นต้น (Jame et al., 2002) ซึ่งแบคทีเรีย
                   เหล่านี้จะมีประโยชน์อย่างมากในระบบการเกษตร โดยเฉพาะช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีให้แก่เกษตร ซึ่งถ้าสามารถ
                   แยกและคัดเลือกจุลินทรีย์กลุ่มดังกล่าวได้ และน ามาประยุกต์ใช้ในการผลิตข้าว จะเป็นประโยชน์อย่างมากแก่
                   เกษตรกร ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพ ส าหรับนาข้าวต่อ
                   การเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินร่วนปนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลและ
                   แนวทางให้แก่เกษตรกรในการลดต้นทุนการผลิตข้าว

                                                        การตรวจเอกสาร

                         ระบบนิเวศวิทยานาข้าวมีจุลินทรีย์อาศัยอยู่จ านวนมากและหลากหลายสายพันธุ์ มีทั้งชนิดที่อาศัยรอบผนัง
                   เซลล์พืช ภายในเซลล์พืช หรือแม้กระทั้งภายในท่อน้ าท่ออาหารพืช โดยส่วนใหญ่จะอยู่อาศัยกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน

                   หลายสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ ละลายธาตุอาหารให้แก่พืช และบางสายพันธุ์
                   สามารถสร้างสารเสริมการเจริญเติบโตให้เป็นประโยชน์แก่พืชได้ ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้จะมีประโยชน์อย่างมากในระบบ
                   การเกษตร โดยเฉพาะช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนให้แก่เกษตรกร ซึ่งหากสามารถแยกและคัดเลือก
                   จุลินทรีย์กลุ่มดังกล่าวได้ และน ามาประยุกต์ใช้ในการผลิตข้าว จะเป็นประโยชน์อย่างมากแก่เกษตรกร
                         ในธรรมชาติส่วนต่างๆ ของพืชทั้งใบ ล าต้น และราก มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่จ านวนมากและหลากหลายสายพันธุ์
                   มีทั้งชนิดที่อาศัยรอบผนังเซลล์พืช ภายในเซลล์พืช หรือแม้กระทั้งภายในท่อน้ าท่ออาหารพืช โดยส่วนใหญ่จะอยู่
                   อาศัยกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน โดยมีหลายสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้เป็น

                   ประโยชน์แก่พืชได้ เช่น Pseudomonas sp. Burkholderia sp. และ Azorhizobium sp. เป็นต้น (Jame et al.,
                   2002)  ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้จะมีประโยชน์อย่างมากในระบบการเกษตร โดยเฉพาะช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี
                   ไนโตรเจนให้แก่เกษตร ดังนั้นถ้าสามารถแยกและคัดเลือกจุลินทรีย์กลุ่มดังกล่าวได้ และน ามาประยุกต์ใช้ในการผลิต
                   ข้าวจะเป็นประโยชน์อย่างมากแก่เกษตรกร
                         ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพส าหรับนาข้าว เป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในรูปแบบผงแห้งละลายน้ า (wettable  powder)
                   และรูปแบบน้ า (liquid formulation) ซึ่งประกอบด้วยจุลินทรีย์ 3 ชนิด ได้แก่ แบคทีเรียตรึงไนโตรเจนแบบอิสระ
                   (Azospirillum brasilense) มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจน และสามารถน ามาใช้ในการปลูกข้าวทดแทนการใช้
                   ปุ๋ยยูเรียได้ดี (Choudhury  and  Kennedy,  2004)   โดยส่งเสริมการเจริญของรากและใบ และท าให้ไนโตรเจน
                   เพิ่มขึ้น  นอกจากธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริมแล้ว ซิลิคอนยังเป็นธาตุเสริมประโยชน์
                   (Beneficial mineral elements) ช่วยให้เซลล์พืชแข็งแกร่ง กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชอีกด้วย (ยงยุทธ, 2543)
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15