Page 23 - ผลของปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับมูลไก่ต่อผลผลิตและคุณภาพแตงโมหลังนาข้าว Effect of Bio-Fertilizer (LDD.12) and chicken manure to yield and quality of watermelon planted after rice.
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                     สรุปผลและข้อเสนอแนะ


                         จากการศึกษาอัตราปุ๋ยชีวภาพขยายเชื้อจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน จุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม
                   ร่วมกับมูลไก่ที่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน ปริมาณและคุณภาพความหวานของผลผลิต
                   แตงโมหลังนาข้าว รวมทั้งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
                   สรุปผล

                         1. การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน ได้แก่ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินหลังการทดลองปีที่ 1 (pH
                   5.75-5.95) มีค่าสูงขึ้นจากดินก่อนการทดลอง (pH 4.9) ส่วนดินหลังการทดลองปีที่ 2 (2563) มีค่าแตกต่างกัน โดยมี
                   ค่าอยู่ในช่วง 6.35-6.70  ส่วนการน าไฟฟ้าของดินหลังการทดลองปีที่ 2  (EC = 0.033-0.043 dS/m.)  มีค่าลดจาก
                   ก่อนการทดลอง (EC = 0.06  dS/m.)  แต่ดินหลังการทดลองปีที่ 1  มีค่าแตกต่างกันทางสถิติ โดยมีค่าการน าไฟฟ้า
                   เท่ากับ 0.018-0.038 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร ส าหรับปริมาณอินทรียวัตถุในดินก่อนและหลังการทดลองทั้ง 2 ปี มีค่าไม่
                   แตกต่างกัน โดยมีค่าต่ ามากถึงค่อนข้างต่ า โดยมีค่าอยู่ในช่วง 0.46-1.04 เปอร์เซ็นต์
                         2.  ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ในดิน ได้แก่ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินก่อนการทดลองมีค่า
                   ค่อนข้างสูง (18  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) โดยดินหลังการทดลองมีปริมาณฟอสฟอรัสสูงขึ้นจากก่อนการทดลอง มีค่า
                   ค่อนข้างสูงถึงสูงมาก อยู่ในช่วง 19-59 และ 67-109 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในปีที่ 1 และปีที่ 2 ตามล าดับ  ส าหรับ
                   โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินก่อนการทดลองมีค่าต่ า (44  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) โดยดินหลังการทดลองมีธาตุ

                   ดังกล่าวในปริมาณสูงขึ้นจากก่อนการทดลอง ซึ่งมีค่าต่ ามากถึงต่ า (อยู่ในช่วง 11-48 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) และมีค่า
                   ต่ าถึงปานกลาง (43-77 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ในปีที่ 1 และ 2 ตามล าดับ
                         3. การใส่ปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) อัตรา 1.2 ตันต่อไร่ ร่วมกับมูลไก่ อัตรา 1.2 ตันต่อไร่ (ต ารับ 6) ท าให้ผลผลิต
                   แตงโมในปีที่ 1 (2562) ให้ผลผลิตสูงสุด เท่ากับ 3.26 ตันต่อไร่ และให้จ านวนผลมากที่สุด เท่ากับ 1,830 ผลต่อไร่
                   (ตารางที่ 6) ส่วนผลผลิตและจ านวนผลแตงโมในปีที่ 2  (2563) มีค่าไม่แตกต่างกัน ส าหรับคุณภาพความหวานของ
                   แตงโมในปีที่ 1 (2562) และปีที่ 2 (2563) มีค่าไม่แตกต่างกันกัน โดยมีความหวานอยู่ในช่วง 8.50-928 และ 7.43-
                   9.20 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ ในปีที่ 1 (2562) และปีที่ 2 (2563) ตามล าดับ

                         4.  การใช้ปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) อัตรา 0.9 ตันต่อไร่  ร่วมกับมูลไก่ อัตรา 1.5  ตันต่อไร่ (ต ารับที่ 5) ให้
                   ผลตอบแทนเหนือต้นทุนเงินสดสุทธิทั้ง 2 ปี (ปี 2562-2563) สูงสุด เท่ากับ 18,392 บาทต่อไร่ รองลงมา ได้แก่ การ
                   ใช้ปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) อัตรา 1.2 ตันต่อไร่ ร่วมกับมูลไก่ 1.2 ตันต่อไร่ (ต ารับที่ 6) ให้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนเงินสด
                   สุทธิทั้ง 2  ปี (ปี 2562-2563) เท่ากับ 15,432 บาทต่อไร่ เมื่อเทียบกับแปลงควบคุมที่ไม่ใส่ปุ๋ยชีวภาพและมูลไก่
                   (ต ารับที่ 1) ซึ่งให้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนเงินสดสุทธิทั้ง 2 ปี (ปี 2562-2563) เท่ากับ 3,172 บาทต่อไร่

                   ข้อเสนอแนะ
                         1. อัตราปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) อัตรา 0.9 ตันต่อไร่ ร่วมกับมูลไก่ อัตรา 1.5 ตันต่อไร่ (ต ารับที่ 5) จึงเป็นอัตรา
                   แนะน าที่เหมาะสมส าหรับการปลูกแตงโมหลังนาข้าว ในพื้นที่นาที่มีลักษณะเนื้อดินร่วนปนทราย
                         2. การใช้ปุ๋ยชีวภาพขยายเชื้อจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน จุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมร่วมกับมูล
                   ไก่ ควรใส่ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสมกับช่วงการเจริญเติบโตของพืช เพื่อให้การใส่ปุ๋ยเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ควรต้อง

                   พิจารณาหลักเกณฑ์ ดังนี้ 1. ใช้ชนิดปุ๋ยที่ถูกต้อง 2. ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม 3. ใส่ให้กับพืชในระยะที่เหมาะสม และ
                   4. ใส่ให้พืชด้วยวิธีการที่ถูกต้อง
                         3. ควรมีการใช้น้ าหมักชีวภาพสมุนไพรไล่แมลง ซึ่งเป็นสารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่ได้จากการหมักพืชสมุนไพร
                   ที่หาได้ง่ายในแต่ละท้องถิ่น โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 และมีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงศัตรูพืชได้ดีในระดับ
                   หนึ่ง สามารถใช้ทดแทนสารเคมีป้องกันก าจัดแมลงศัตรูพืชของแตงโมลงได้ ปลอดภัยต่อสุขภาพผู้ผลิต (เกษตรกร)
                   และผู้บริโภค เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยให้ระบบนิเวศเกษตรเกิดความยั่งยืน ส าหรับการใช้น้ าหมักชีวภาพ
                   สมุนไพรไล่แมลงจ าเป็นต้องมีการฉีดพ่นอย่างต่อเนื่องและสม่ าเสมอ ประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับช่วง
                   อายุพืชปลูก และความรุนแรงในการระบาดของแมลงศัตรูพืชในแปลงได้
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28