Page 9 - การจัดการดินด้วยเทคโนโลยีกรมพัฒนาที่ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกมันสำปะหลัง ในเขตพื้นที่ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม The LDD Technology Management of Soil Suitable for Growing Cassava in Areas Unsuitable for Rice Cultivation by the Participation of Farmers.
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                               9





                   สูตรไนโตรเจนอัตรา 50  กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรฟอสฟอรัสอัตรา 50  กิโลกรัมต่อไร่ มีผลท าให้
                   ผลผลิตข้าวเฉลี่ยสูงสุดทั้ง 2 ปี เท่ากับ 8,501 และ 6,539 กิโลกรัมต่อไร่  อโนชา และกมลาภา (2553) ได้ท าการศึกษา

                   การจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันส าปะหลังในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม (จังหวัดชลบุรี) พบว่า การใช้อัตราปุ๋ยเคมีตามแบบ

                   เกษตรกร คือปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 75 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตมันส าปะหลังเฉลี่ยและผลตอบแทนสูงกว่าวิธีการ

                   อื่นๆ

                   3. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR)


                          เป็นการด าเนินงานระหว่างองค์กรชุมชน ภาครัฐ และภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนางานในชุมชน โดยการมีส่วนร่วม
                   ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนา แก้ไขปัญหาที่ตรงจุด ตรงกับความต้องการขององค์กรชุมชน โดยมีผู้ให้ความเห็นดังนี้



                          พนัส  และคณะ  (2545)  กล่าวไว้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเป็นการวิจัยเพื่อการพัฒนาที่มุ่งเน้นให้เกิด
                   การเปลี่ยนแปลง การพัฒนาองค์กร หน่วยงาน และชุมชนมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนและบุคคล รวมทั้ง

                   ส่งเสริมให้บุคคลมีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับปรุงองค์กร หน่วยงาน และชุมชนที่บุคคลนั้นเป็นสมาชิก


                          ประจักษ์ และคณะ (2546) กล่าวไว้ว่า เป้าหมายของการท า PAR มุ้งเน้นการส่งเสริมให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ ได้

                   พัฒนาตนเองในการน าไปสู่การพัฒนาชุมชนและสังคมทุกด้านเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น วัตถุประสงค์ของการ

                   วิจัย PAR เป็นการปลุกจิตส านึกให้ผู้ด้อยโอกาสและสมาชิกในชุมชนได้ตระหนักถึงปัญหาของชุมชนและเกิดความตระหนัก

                   ในบทบาทความรับผิดชอบของตนเอง ร่วมแก้ไขปัญหาของตนเองและชุมชน นอกจากนี้การด าเนินการวิจัยยังเน้นการเก็บ

                   รวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยในการตัดสินใจ ก าหนดปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา รวมทั้ง
                   ด าเนินการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง โดยร่วมมือกับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องนั้น นอกจากนี้

                   เพื่อร่วมกับชุมชนในการด าเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองเพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มและการท างาน

                   ร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนอีกทั้งผลักดันให้กิจกรรมทั้งหมดด าเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง


                          สรุปได้ว่าการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเป็นวิธีการวิจัยเพื่อการแสวงหาความรู้และแก้ไขปัญหาร่วมกัน มุ่งเน้น

                   การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตั้งแต่เจ้าหน้าที่ นักวิจัย และชุมชนได้มาร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วม

                   ด าเนินการ และร่วมประเมินผล โดยทบทวนสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหา ทดลองท า เพื่อพัฒนา

                   ศักยภาพทั้งในกระบวนการวิจัย และการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์กร และชุมชนของตนเอง  เพื่อตัดสิน

                   และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14