Page 6 - การจัดการดินด้วยเทคโนโลยีกรมพัฒนาที่ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกมันสำปะหลัง ในเขตพื้นที่ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม The LDD Technology Management of Soil Suitable for Growing Cassava in Areas Unsuitable for Rice Cultivation by the Participation of Farmers.
P. 6

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                               6





                                                         หลักการและเหตุผล
                          ปัจจุบันนโยบายและแนวทางการพัฒนาการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มุ่งเน้นการจัดการเขตการ

                   ใช้ที่ดินให้เหมาะสมกับชนิดของพืช โดยแบ่งระดับความเหมาะสมของพื้นที่ออกเป็น เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง

                   เหมาะสมน้อย และไม่เหมาะสม โดยพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมากและปานกลาง นั้นถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการ

                   ผลิต ได้ผลผลิตสูง คุ้มค่ากับการลงทุน ภาครัฐยังคงด าเนินการส่งเสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต่อไป แต่ในพื้นที่

                   เหมาะสมน้อยหรือไม่เหมาะสมนั้น หากเกษตรกรมีการปลูกพืชในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม จะได้รับผลผลิตต่ า ลงทุนสูง ไม่

                   คุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นเพื่อให้การจัดการพื้นที่เป็นไปตามศักยภาพของพื้นที่ จึงได้พิจารณาการปรับเปลี่ยนระบบการ

                   ปลูกพืชโดยเฉพาะพื้นที่ที่ปลูกข้าวในพื้นที่ที่เหมาะสมน้อยหรือไม่เหมาะสมเพื่อปลูกมันส าปะหลัง ตามความเหมาะสมของ
                   พื้นที่ ซึ่งเหมาะสมทั้งในด้านของสมบัติดิน และเหมาะสมในด้านการตลาด จากการส ารวจข้อมูลเขตการใช้ที่ดินในจังหวัด

                   อุบลราชธานีพบว่ามีเขตเหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสมส าหรับการปลูกข้าวมีมากถึง   8,441,301   ไร่ และมีการปลูก

                   ข้าวในพื้นที่เขตการใช้ที่ดินที่เหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสมส าหรับการปลูกข้าวมากถึงร้อยละ 43  (3,629,123  ไร่) ซึ่ง

                   เกษตรกรจะต้องมีการลงทุนที่อาจจะไม่คุ้มกับผลตอบแทนที่ได้รับ แต่ด้วยความเชื่อและปัจจัยหลายอย่างที่ยังท าให้

                   เกษตรกรเลือกที่จะปลูกข้าวในพื้นที่ดังกล่าว  และมีพื้นที่ไม่มากนักที่มีการจัดการเขตการใช้ที่ดินที่เหมาะสมน้อยและไม่
                   เหมาะสมส าหรับการปลูกข้าวเพื่อมาปลูกมันส าปะหลัง  ปัจจัยหนึ่งท าให้เกษตรกรเลือกที่จะปลูกมันส าปะหลังในพื้นที่

                   เนื่องจากมีแหล่งรับซื้อมันส าปะหลังที่แน่นอน นั่นคือ บริษัทอุบลไบโอเอทานอล ซึ่งสามารถรองรับผลผลิตได้เป็นจ านวน

                   มาก แต่จากข้อมูลของส านักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานีรายงานว่า ผลผลิตมันส าปะหลังในปัจจุบันมีปริมาณเพียง

                   100  ตัน ซึ่งยังคงน้อยกว่าความต้องการของโรงงานที่จะรับซื้อ ท าให้เป็นโอกาสของเกษตรกรหากเกษตรกรมีการ

                   ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ที่เหมาะสมส าหรับการปลูกข้าวมาปลูกมันส าปะหลังร่วมกับการใช้เทคโนโลยี
                   กรมพัฒนาที่ดิน ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรกรมพัฒนาที่ดิน ช่วยในการปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิต การใส่ปุ๋ยเคมี

                   ตามโปรแกรมค าแนะน าปุ๋ยรายแปลงเพื่อลดต้นทุนการผลิต แต่อย่างไรก็ตามการจะปรับเปลี่ยนทัศนคติหรือปรับเปลี่ยน

                   วิถีชีวิต วัฒนธรรมการผลิตของเกษตรกรเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากเกษตรกรไม่มั่นใจในตลาดและไม่มั่นใจใน

                   ข้อมูลของหน่วยงานราชการ ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาวิจัยเพื่อยืนยันข้อมูลทางวิชาการให้เกษตรกรได้มั่นใจว่าสามารถ

                   ผลิตพืชได้ตามศักยภาพของพื้นที่และคุ้มค่าต่อการลงทุน ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงมีแนวคิดที่จะศึกษาการจัดการดินที่

                   เหมาะสมต่อการปลูกมันส าปะหลังเพื่อทดแทนพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมส าหรับการปลูกข้าว โดยใช้กระบวนการเกษตรกรมี

                   ส่วนร่วมในการด าเนินกิจกรรมต่างๆ ไปพร้อมกับนักวิจัย ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรเกิดการยอมรับเทคโนโลยีกรมพัฒนาที่ดิน
                   และแนวทางการจัดการดินที่เหมาะสม พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนแนวความคิดของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนพื้นที่การใช้

                   ประโยชน์ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11