Page 8 - การจัดการดินด้วยเทคโนโลยีกรมพัฒนาที่ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกมันสำปะหลัง ในเขตพื้นที่ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม The LDD Technology Management of Soil Suitable for Growing Cassava in Areas Unsuitable for Rice Cultivation by the Participation of Farmers.
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                               8





                   สูงขึ้น สามารถเปลี่ยนเป็นแป้งและเอทานอลได้สูง ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร หากราคามัน
                   ส าปะหลังสดเฉลี่ยที่ 1.20  บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรผู้ปลูกมันส าปะหลังห้วยบง 60  จะมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณไร่ละ

                   420-900  บาท หากครัวเรือนหนึ่งมีพื้นที่ปลูกมันส าปะหลังประมาณ 20  ไร่ จะมีรายได้เพิ่มขึ้นครัวเรือนละ 8,400-

                   18,000  บาท ทั้งประเทศประมาณ 6.5  ล้านไร่ จะท ารายได้เพิ่มขึ้นปีละ 2,730-5,850  ล้านบาท นอกจากนี้ยังเพิ่ม

                   ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมแป้งและ เอทานอล เนื่องจาก

                   พันธุ์ห้วยบง 60 มีแป้งในหัวเฉลี่ย 2.5-4 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่พันธุ์อื่นๆ ที่เกษตรกรปลูกในหัวเฉลี่ย 23-25 เปอร์เซ็นต์
                   เมื่อใช้หัวของพันธุ์ห้วยบง 60 เป็นวัตถุดิบ มีแป้งหรือเอทานอลได้สูงขึ้น ด้วยศักยภาพของพันธุ์ห้วยบงจะเป็นสิ่งที่บ่งบอก

                   ถึงความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมมันส าปะหลังของไทยได้สูงขึ้น )

                   (http://www.farmkaset.org/m/content_details.aspx?con_id=00258

                         กรมวิชาการเกษตร  (2548) ศึกษาระยะเวลาและอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดและต้นทุนต่ า

                   จากการใช้ปุ๋ยเคมี พบว่า การใช้ปุ๋ยทั้งหมดครั้งเดียวในหลุมที่เจาะ 2 ข้างล าต้นและกลบปุ๋ย ใส่เมื่ออายุ 1-3 เดือน หลัง
                   ปลูกเหมาะสมที่สุด โดยใช้สูตร 21-0-0 อัตรา 8-24 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ สูตร 0-46-0 อัตรา 8-16 กิโลกรัม P O  ต่อ
                                                                                                          2 5
                   กิโลกรัมต่อไร่ และ 0-0-60 อัตรา 8-16 กิโลกรัม K O ต่อไร่ เหมาะสมที่สุด  เพื่อให้การผลิตมันส าปะหลังอย่างยั่งยืนด้วย
                                                          2
                   การใช้ผสมผสานของปุ๋ยเคมี อัตรา 16-8-16 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 1-2 ตันต่อไร่ หรือร่วมกับการไถกลบซาก

                   ต้น ใบมันสด 3 ตันต่อไร่ หรือร่วมกับปุ๋ยคอก นอกจากนี้เกษตรกรอาจใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด เช่น ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม

                   หรือปอเทือง โดยปลูกแล้วไถกลบในระยะก่อนออกดอก หรือปลูกพืชแซมที่ช่วยบ ารุงดินปลูกระหว่างแถว เพื่อช่วยรักษา

                   ความอุดมสมบูรณ์ของดินได้อีกวิธีหนึ่งด้วย ซึ่ง อนันต์ และคณะ (2541) ได้ท าการทดลองปลูกถั่วลิสงแซมระหว่างแถว

                   ของมันส าปะหลัง พบว่ามันส าปะหลังได้รับธาตุอาหารเพิ่มเติมในการเจริญเติบโต


                         ประภาส และคณะ (2550) ได้ท าการศึกษาการใช้มูลไก่ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราต่ าต่อผลผลิตและปริมาณแป้งของมัน
                   ส าปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 พบว่า มันส าปะหลังมีการตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยมูลไก่และปุ๋ยเคมีในทิศทางคล้ายกัน กล่าวคือ

                   การใส่ปุ๋ยมูลไก่และปุ๋ยเคมีอัตราที่สูงขึ้นท าให้ผลผลิตหัวสดและผลผลิตหัวแห้งสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไม่ใส่ปุ๋ยมูลไก่และปุ๋ยเคมี


                          พินิจ (2552) ได้ท าการศึกษาการจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันส าปะหลังตามกลุ่มชุดดินที่ 40  พบว่า การใส่

                   ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินโดยการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-8-8 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับน้ าหมักชีวภาพอัตราเจือจาง

                   1:500 อัตรา 60 ลิตรต่อไร่ โดยใช้แถบหญ้าแฝกขวางทางลาดเทของพื้นที่ และมีการปรับสภาพดินด้วยปูนขาวอัตรา 350

                   กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ยทั้ง 3 ปี สูงที่สุดเท่ากับ 4.36 ตันต่อไร่


                          โสฬส  และปราณี (2555) ได้ศึกษาอัตราการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของ

                   ดินและผลผลิตมันส าปะหลัง พบว่าการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15  อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13