Page 14 - การจัดการดินด้วยเทคโนโลยีกรมพัฒนาที่ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกมันสำปะหลัง ในเขตพื้นที่ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม The LDD Technology Management of Soil Suitable for Growing Cassava in Areas Unsuitable for Rice Cultivation by the Participation of Farmers.
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                              14





                                                    ผลการวิจัยและวิจารณ์


                   1. สมบัติทางเคมีดิน
                          จากการวิเคราะห์ตัวอย่างดินก่อน และหลังการทดลองที่ระดับความลึก 0-25  เซนติเมตร เพื่อวิเคราะห์สมบัติ

                   ทางเคมีของดิน ได้แก่ ค่า pH, EC, OM, ปริมาณฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน ปริมาณแคลเซียม
                   และแมกนีเซียม พบว่า ก่อนการทดลองค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 5.05 (กรดจัด) หลังการทดลองปีที่ 1 และ 2

                   เมื่อวิเคราะห์ค่าทางสถิติ พบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ โดยค่า pH มีค่าเฉลี่ย 5.53 (กรดจัด)    และ 4.92 (กรดจัด)
                   ตามล าดับ ปริมาณอินทรียวัตถุ (OM) ก่อนการทดลอง เท่ากับ 0.60 เปอร์เซ็นต์ หลังการทดลองปีที่ 1 และ 2 เฉลี่ย

                   เท่ากับ 0.56 และ 0.40 (ต่ ามาก)  ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน ก่อนการทดลอง เท่ากับ 25 มิลลิกรัมต่อ
                   กิโลกรัม หลังการทดลองปีที่ 1 และ 2 เฉลี่ยเท่ากับ 109.65 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (สูงมาก) และ 28.45 มิลลิกรัมต่อ
                   กิโลกรัม (สูง) เนื่องจากในช่วงเตรียมดินใส่ปุ๋ยมูลไก่รองพื้นก่อนการปลูก ทั้ง 2 ปี จึงส่งผลให้ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น

                   ประโยชน์ในดินมีค่าสูง ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน ก่อนการทดลอง เท่ากับ 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ต่ า
                   มาก) หลังการทดลองปีที่ 1 และ 2 เฉลี่ยเท่ากับ 24.90 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ต่ ามาก) และ 33.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

                   (ต่ า) ปริมาณแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน ก่อนการทดลอง เท่ากับ 117.50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หลังการทดลองปีที่ 1
                   และ 2 เฉลี่ยเท่ากับ 229.55 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ต่ ามาก) และ 117.55  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ต่ ามาก) ปริมาณ

                   แมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน ก่อนการทดลอง เท่ากับ 21.50  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ต่ ามาก) หลังการทดลองปีที่ 1
                   และ 2 เฉลี่ยเท่ากับ 229.55 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ต่ ามาก) และ 117.55 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ต่ ามาก) (ตารางที่ 1)

                          จากข้อมูลดิน พบว่า การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 100  กิโลกรัมต่อไร่ และการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
                   อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าสมบัติทางเคมีดินในด้านความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)
                   ในปีที่ 1 และ 2 อย่างเห็นได้ชัด เพราะสามารถยกระดับค่า pH  ดินได้ หากเปรียบเทียบกับวิธีการใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว

                   เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์นั้นเป็นอินทรียวัตถุ จะปลดปล่อยธาตุอาหารพืชออกมาโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน ดังนั้นจึงมีธาตุ

                   อาหารหลัก ธาตุอาหารรองและจุลธาตุค่อนข้างครบถ้วนที่พืชใช้ในการ เจริญเติบโต  เนื่องจากอินทรียวัตถุในดินมีประจุ
                   ลบเป็นจ านวนมากและมีความสามารถในการดูดซับประจุบวกได้สูง จึงมีผลท าให้ดินที่มีอินทรียวัตถุสูงมีความต้านทาน
                   การเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดินได้ดี ปฏิกิริยานี้เป็น equilibrium  reaction  ฉะนั้นไม่ว่าจะมีการเพิ่ม

                   สารประกอบที่มีสมบัติเป็นกรด หรือด่างลงในดิน ปฏิกิริยาดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นทันทีเพื่อรักษา equilibrium โอกาสที่กรด
                   หรือด่างจะสะสม อยู่ในสารละลายดิน จึงมีน้อยมากและเป็นเหตุให้ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย

                   เท่านั้น ถ้าดินมีอินทรียวัตถุสะสมในปริมาณที่เหมาะสม (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541; ส านักเทคโนโลยีชีวภาพ
                   ทางดิน, 2551)
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19