Page 44 - การจัดทำค่ามาตรฐานธาตุอาหารพืชในชาน้ำมันเพื่อใช้เป็นค่าวินิจฉัยสำหรับให้คำแนะนำปุ๋ย Preparation of Standard Plant Nutrients in Camellia oleifera Able. for Use as Diagnostic for Fertilizer Recommendations.
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          34


                   แมงกานีสในดินจากอ้านาจการไล่ที่ของแคลเซียมและแมกนีเซียมแล้ว ยังสามารถใช้เป็นแหล่งของแคลเซียม
                   และแมกนีเซียมในดิน รวมถึงช่วยยกระดับพีเอชให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมได้อีกทางหนึ่ง มีรายงานหาก พีเอช

                   ของดินเพิ่มขึ น 1 หน่วย ความเข้มข้นของแมงกานัสไอออนในสารละลายดินจะลดลง 100 เท่า (ยงยุทธ, 2552)

                   อย่างไรก็ตาม หากใส่วัสดุปูนในปริมาณมากเกินไป ต้องระวังปัญหาอันตรกิริยาเชิงลบของแคลเซียมและ
                   แมกนีเซียม ที่จะมีผลต่อความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารชนิดอื่น เช่นเดียวกับกรณีปัญหาที่เกิดจาก

                   แมงกานีส


                   3. สถานะธาตุอาหารในดินจ้าแนกตามระดับผลผลิต
                          จากผลวิเคราะห์ดินบริเวณต้นที่ให้ผลผลิตแตกต่างกัน แบ่งเป็น ต้นเกรด A (ผลผลิตสูง >100 ผลต่อ

                   ต้น) ต้นเกรด B (ผลผลิตปานกลาง 50-100 ผลต่อต้น) ต้นเกรด C (ผลผลิตต่้า <50 ผลต่อต้น) และต้นเกรด D

                   (ไม่ให้ผลผลิต) ชี ให้เห็นว่า ระดับผลผลิตชาน ้ามันค่อนข้างผันแปรตามระดับธาตุอาหารในดิน โดยเฉพาะเมื่อ
                   เปรียบเทียบกรณีของต้นเกรด A ซึ่งให้ผลผลิตสูงสุด กับต้นเกรด D ที่ไม่ให้ผลผลิต พบว่า ดินบริเวณต้นเกรด

                   A มีพีเอช ปริมาณโพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ สูงกว่าต้นเกรด D อย่างเด่นชัด
                   นอกจากนี  เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนของแมงกานีสกับธาตุอาหารชนิดอื่น ชี ให้เห็นว่า สัดส่วนของ

                   แมงกานีส/โพแทสเซียม แมงกานีส/แคลเซียม และแมงกานีส/แมกนีเซียม ในดินบริเวณต้นเกรด A มีแนวโน้ม

                   อยู่ในระดับต่้ากว่าต้นเกรด D โดยเฉพาะกรณีสัดส่วนของแมงกานีส/โพแทสเซียม มีความแตกต่างอย่างมี
                   นัยส้าคัญ ทั งนี เนื่องจากระดับแมงกานีสที่สูงในดินบริเวณต้นเกรด D อาจไปไล่ที่แคตไอออนชนิดอื่น ซึ่งถูกดูด

                   ซับอยู่ที่ผิวคอลลอยด์ดิน ให้ออกมาอยู่ในสารละลายดิน (ยงยุทธ, 2552) ประกอบกับพื นที่ปลูกชาน ้ามันอยู่ใน
                   พื นที่ลาดชัน ดังนั น เมื่อฝนตกแคตไอออนส่วนที่อยู่ในสารละลายดินจึงถูกชะละลายออกจากหน้าตัดดินได้

                   โดยง่าย ส่งผลให้ปริมาณโพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมที่สกัดได้อยู่ในระดับต่้า สัดส่วนของ

                   แมงกานีสกับธาตุดังกล่าวจึงอยู่ในระดับสูง ในขณะที่สัดส่วนของแมงกานีส/ฟอสฟอรัส มีแนวโน้มลดลงตาม
                   ระดับผลผลิต ทั งนี หากพิจารณาจากสัดส่วนที่เหมาะสม ตามทฤษฎีต้องมีแนวโน้มเพิ่มขึ นตามระดับผลผลิต

                   ชี ให้เห็นว่า ฟอสฟอรัสอาจไม่ได้เป็นธาตุที่เป็นปัจจัยจ้ากัดผลผลิตในอันดับต้น ๆ ซึ่งสอดคล้องกับสถานะธาตุ

                   อาหารในใบของต้นเกรด A พบว่าอยู่ในระดับต่้าสุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเกรดอื่น แต่กลับให้ผลผลิตสูงสุด
                   จึงควรท้าการศึกษาประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติม ในขณะที่ ความไม่สมดุลของธาตุอาหารในดินอันเนื่องจาก

                   แมงกานีสที่สูงในดิน โดยเฉพาะกรณีของต้นเกรด D ซึ่งพบแนวโน้มของความไม่สมดุลสูงสุด ส่งผลให้เกิดการ

                   แก่งแย่งระหว่างธาตุอาหาร (Turan et al., 2013) ต้นชาน ้ามันในกลุ่มดังกล่าวจึงดูดแมงกานีสไปสะสมในใบ
                   สูงกว่าการดูดใช้ธาตุอาหารชนิดอื่น ท้าให้ระดับแมงกานีสที่สกัดได้ในดินอยู่ในระดับต่้ากว่าต้นเกรด A อย่างมี

                   นัยส้าคัญ ทั งนี อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ท้าให้สัดส่วนของแมงกานีส/ฟอสฟอรัส บริเวณต้นเกรด A มีแนวโน้ม
                   อยู่ในระดับสูงกว่าต้นเกรด D เพราะต้นเกรด A มีการดูดแมงกานีสไปสะสมในใบน้อยกว่า จึงมีการสะสมใน

                   ดินสูง ในขณะที่แมงกานีสที่สูงอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการดูดใช้ฟอสฟอรัส ท้าให้การสะสมฟอสฟอรัสในใบของ

                   ต้นเกรด A อยู่ในระดับต่้ากว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยส้าคัญ แต่มีการสะสมในดินค่อนข้างสูง โดยที่พืชดูดไปใช้ได้
                   น้อย ส่งผลให้ สัดส่วนแมงกานีส/ฟอสฟอรัส ของต้นเกรด A มีแนวโน้มสูงสุด อย่างไรก็ตาม สัดส่วนของ
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49